TEXT_SIZE
Thai Arabic Chinese (Simplified) English French Indonesian Japanese Korean Vietnamese

อำนาจหน้าที่ องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ

 

                   พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๖๒

                  มาตรา ๖๖ องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

                  มาตรา ๖๗ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่

 

                 1. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก

1.2  รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การด๔แลการจราจร และส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว

                ๒. รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

                ๓. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

               ๔. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

               ๕. จัดการ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรมแก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการ

              หรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก

             ตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

             ๖. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

             ๗. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

             ๘. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

             ๙. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร

            มาตรา ๖๘ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้

                           1. ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร

                           2. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดนวิธีอื่น

                           3. ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ

มาตรา ๖๙ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามมาตรา ๖๖ มาตรา ๖๗ และมาตรา ๖๘ นั้น ไม่เป็นการตัดอำนาจหน้าที่

ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐในอันที่ดำเนินกิจการใดๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบล แต่ต้องแจ้งให้

องค์การบริหารส่วนตำบลทราบล่วงหน้าตามสมควรในกรณีนี้หากองค์การบริหารส่วนตำบลมีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าว

ห้กระทรวง ทบวง กรม  หรือองค์การ หรือหน่วยงานภาครัฐ นำความเห็นองค์การบริหารส่วนตำบลไปประกอบการพิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย

 

มาตรา ๖๙/๑ การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการ

บ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง

การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการนั้นและ

หลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

 

มาตรา ๗๐ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีสิทธิได้รับข้อมูลและข่าวสารจาก

ทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของทางราชในตำบลเว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับ

การรักษาความมั่นคงแห่งชาติ

 

มาตรา ๗๑ องค์การบริหารส่วนตำบลอาจออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อบังคับใช้ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลได้

เท่าที่ไม่ขัดแย้งต้อกฎหมายฯมาตรา ๗๒ องค์การบริหารส่วนตำบลอาจทำการนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบล หรือร่วมกับสภาตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบล หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ ทั้งนี้ 

เมื่อได้รับความยินยอมจากสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

ที่เกี่ยวข้อง และกิจการนั้นเป็นกิจการที่จำเป็นต้องทำและเป็นการเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน

 

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก้องค์กรปกครองสาวนถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ หมวด ๒ การกำหนดอำนาจ

และหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะมาตรา ๑๖ ให้เทศบาลเมืองพัทยาและองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการ

จัดระบบการบริการสาธารณะเอประโยชน์ของประชาชนในท้องถื่นของตนเอง ดังนี้

                             1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง2.

                             2. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ

                             3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

                             4. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ

                             5. การสาธารณูปการ

                             6. การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ

                             7. การพาณิชย์และการส่งเสริมการลงทุน

                             8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว

                             9. การจัดการศึกษา

                             10. การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรีคนชรา และผู้ด้อยโอกาส

                             11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

                             12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

                             13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

                             14. การส่งเสริมกีฬา

                             15. การส่งเสริมประชาธิปไตยความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

                             16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

                            17. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

                             18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย

                            19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

                            20. การจัดให้มีและความคุมสุสานและฌาปนสถาน

                            21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

                            22. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์

                            23. การรักษาความปอลดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ

                            24. การจัดการบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                            25. การผังเมือง

                            26. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร

                            27. การดูแลสาธารณะ

                            28. การควบคุมอาคาร

                            29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                            30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน

                           31. กิจการอื่นใดที่เป็นผลปะโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

สํานักงานปลัด

                 มีหน้าที่ ควบคุม ดูแล รับผิดชอบการปฏิบัติงานด้านการบริหารงานบุคคล งานป้องกัน และงาน บรรเทาสาธารณภัย งานรักษาความสงบ

               เรียบร้อย และความมั่นคง การบริการประชาชน  นอกจากนี้ยัง ควบคุม ดูแลงานสารบรรณ จดการประชุมสภาฯ จัดเตรียมให้บริการด้าน

               สถานที่วัสดุ อุปกรณ์ และอำนวยความสะดวกต่างๆในการเลือกตั้งและงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

กองคลัง

                  มีหน้าที่ ควบคุม ดูแล และรับผดชอบการปฏิบัติงานด้านการพัฒนารายได้ การเงินและบัญชี การ จัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ

                  งานสถิติการคลัง รวมทั้งงานบริการข้อมูลแผนที่ภาษี และทะเบียน ทรัพย์สิน การจัดซื้อ/จัดจ้างและงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

กองช่าง

                  มีหน้าที่ ควบคุม ดูแล รับผิดชอบการปฏิบัติงานในด้านการควบคุมอาคารและขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร การควบคุมผังเมือง และการ

                  จัดทำผังเมือง  งานวิศวกรรมโยธา   งานสถาปัตยกรรม งานบำรุงรักษาทาง และ สะพาน งานบำรุงรักษาสาธารณูปโภค งานติดตั้ง เสาไฟฟ้า

                 งานสวนสาธารณะ และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ได้รับมอบหมาย

กองการศึกษา

                  มีหน้าที่ ควบคุม ดูแล รับผิดชอบการปฏิบัติงานด้านบริหาร และวิชาการ  ทางการศึกษา งานโรงเรียน งานนิเทศการศึกษา งานกิจกรรมนักศึกษา

                 งานเผยแพร่และแนะแนว  การศึกษา และงานการศึกษานอก โรงเรียน งานด้านสังคมสงเคราะห์ งานสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน งานพัฒนาชุมชน

                 งานทางด้านประเพณี ศาสนา และวัฒนธรรม

                 และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

 

 

 


 

 




 

องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ
ตำบลตำหรุ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี 76150
โทรศัพท์ 0-3249-2386 โทรสาร 0-3249-2386
E-mail : saraban@tamru.go.th

สำนักปลัด : 0-3249-2386 ต่อ
กองคลัง :
0-3249-2386 ต่อ
กองช่าง : 0-3249-2386 ต่อ
กองการศึกษา : 0-3249-2386 ต่อ







 


นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
 

ลิขสิทธิ์ © 2555-2566 องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ จังหวัดเพชรบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.