TEXT_SIZE
Thai Arabic Chinese (Simplified) English French Indonesian Japanese Korean Vietnamese

04 แผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาหน่วยงาน

04 แผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาหน่วยงาน

ITA ปี 2566

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนพัฒนาท้องถิ่น

(พ.ศ. 2566 - 2570)

ของ

องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ

อำเภอบ้านลาด  จังหวัดเพชรบุรี

(  ฉบับแก้ไข  ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย  ที่ มท 0810.3/ว 7509  ลงวันที่ 7  ตุลาคม  2565  )

 

 

 

 

คำนำ

 

              ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ ได้มีการประกาศใช้แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - พ.ศ. 2570) และแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - พ.ศ. 2570) ที่เพิ่มเติม/เปลี่ยนแปลง   ครั้งที่ 1  แล้วนั้น  ปัจจุบันได้มีหนังสือกระทรวงมหาดไทย  ที่ มท 0810.3/ว 7509  ลงวันที่ 7  ตุลาคม  2565  เรื่อง แนวทางการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการแก้ไขแผนพัฒนาท้องถิ่นให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน  หลังจากการมีการประกาศราชกิจจานุเบกษา ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13  (พ.ศ.2566-2570)

              ดังนั้นเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำหมุดหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13  (พ.ศ.2566-2570) มาจัดทำรายละเอียดที่มีความสอดคล้องหรือเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี  ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด ยุทธศาสตร์จังหวัด ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด  และยุทธศาสตร์องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ

           องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ  จึงได้ดำเนินการแก้ไขแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - พ.ศ. 2570)   โดยดำเนินการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 4 และข้อ 21 มาดำเนินการโดยอนุโลมและให้ใช้เป็นการแก้ไขแผนพัฒนาท้องถิ่น        เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ โดยนำไปเป็นกรอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมและงบประมาณจากเงินสะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป  องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - 2570) ฉบับที่แก้ไข ครั้งที่ 1 / 2566 นี้  จะประสบความสำเร็จตามที่ได้วางไว้ และสามารถแก้ปัญหาให้กับประชาชนในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

 

                                                                                               องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ

                                                                                                                                                   กุมภาพันธ์   2566

 

 

 

 

สารบัญ

                                                                                                                                                                                              หน้า

                                                  ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน                                                                                                                                                        

                                                                 1)  ด้านกายภาพ                                                                                                           1 - 2

                                                                 2)  ด้านการเมืองการปกครอง                                                                                               3

                                                                 3)  ประชากร                                                                                                                  4

                                                                 4)  สภาพทางสังคม                                                                                                           5

                                                                 5)  ระบบบริการพื้นฐาน                                                                                                     5

                                                                 6)  ระบบเศรษฐกิจ                                                                                                        5 - 7

                                                                 7)  ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม                                                                                         8 - 10

                                                                 8)  ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่                                                                                            11

 

                                                      ส่วนที่ 2    ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                                           

                                                                  2.1 ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาค                                                                 12 - 19

                                                                  2.2 ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                                                     20 - 23

                                                                  2.3 การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น                                                                                   24  - 26

 

                                                    ส่วนที่  3  การนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติ                                                                                             

                                                                   3.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นและยุทธศาสตร์มหภาคเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ                              27 - 30

                                                                   3.2 บัญชีสรุปโครงการพัฒนา  (ผ 01)                                                                              28 - 31

                                                                   3.3 บัญชีสรุปโครงการพัฒนาที่นำมาจากแผนพัฒนาหมู่บ้าน (ผ 01/1)                                           36

                                                                   3.4 รายละเอียดโครงการพัฒนา ฯ ( ผ 02)                                                                         37 - 72     

                                                                   3.5 รายละเอียดโครงการพัฒนา ฯ (สำหรับโครงการเกินศักยภาพฯ  ( ผ 02/2)                              73 - 75   

                                                                   3.6  บัญชีครุภัณฑ์    ( ผ 03)                                                                                         76 - 77                                 

 

                                                      ส่วนที่ 4 การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา                                                                                                     

                                                                   4.1  การติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์                                                                         62 - 81

                                                                   4.2  การติดตามและประเมินผลโครงการ                                                                             82 - 87                                                                  

                                                                   4.3 ข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในอนาคต                                                           88

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่ ๑

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ส่วนที่ ๑

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

************************************************************************

คำขวัญของตำบลตำหรุ

"ขุนตำหรุคู่ตำบล ยลการเห่เรือบก  มรดกวัฒนธรรม แข่งขันเรือยาวประเพณี มีดีน้ำพริกแกง  แหล่งข้าวซ้อมมือ  ขึ้นชื่อน้ำตาลโตนด"

.   ด้านกายภาพ

ประวัติความเป็นมาของตำบลตำหรุในสมัยก่อนในตำบลตำหรุ   ได้มีท่านขุนตำหรุมาจัดเก็บภาษีทางน้ำ ในพื้นที่อำเภอบ้านลาดและตำบลตำหรุเป็นอยู่ประจำ และมาพักอาศัยในพื้นที่ตำบลตำหรุ  จนกลายเป็นที่เรียกขานพื้นที่เป็นตำบล “ตำหรุ”  จนถึงปัจจุบันและได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ  ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ ๑๔ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒

๑.๑ ที่ตั้ง (แสดงที่ตั้งและระยะห่างจากจากอำเภอ)  

          องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ   ตั้งอยู่ที่  31/1  หมู่ ๒ บ้านระหารน้อย  ตำบลตำหรุ อำเภอบ้านลาด  จังหวัดเพชรบุรี    เป็นตำบลหนึ่งใน ๑๘  ตำบลของอำเภอบ้านลาดห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านลาด ระยะทางประมาณ ๔ กิโลเมตร  

 

         

 

 

 

 

 

 

 

 

-2-

 

๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ 

      ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของตำบลตำหรุ  เป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำเพชรบุรีไหลผ่านจากตอนเหนือลงสู่ตอนใต้ตลอดแนวทางทิศตะวันออกของตำบลและเป็นเส้นเขตติดต่อกับตำบลถ้ำรงค์   ส่วนทางตะวันตกของตำบลมี ห้วยมะกอกไหลผ่านตลอดแนวเป็นเส้นเขตติดต่อกับตำบลไร่สะท้อน   ภายในตำบลมีห้วยละหานใหญ่ไหลผ่านบริเวณทางตอนบนลงมาบรรจบกับห้วยมะกอกและมีทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๓๑๗๔๙ ตัดเลียบขนานกับคลองชลประทาน สายใหญ่ ฝั่งซ้าย ๑ สาย ตัดผ่านกลางตำบลสภาพพื้นที่มีความเหมาะสมกับการทำเกษตรกรรม อาทิ เช่น การทำนา  การปลูกพืชไร่  พืชผักสวนครัว หรือการเลี้ยงสัตว์

๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ (ที่มา : สำนักงานอุตุนิยมวิทยาจังหวัดเพชรบุรีและแผนพัฒนาจังหวัด)

            ตำบลตำหรุอยู่ใกล้กับตัวจังหวัดเพชรบุรี จึงมีลักษณะภูมิอากาศคล้ายคลึงกับจังหวัดเพชรบุรี โดยจังหวัดเพชรบุรีอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมที่พัดเวียนเป็นประจำเป็นฤดูกาล

2 ชนิด คือ พัดจากทิศตะวันออก เฉียงเหนือในฤดูหนาว เรียกว่าฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้จังหวัดเพชรบุรีซึ่งอยู่ทางตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนน้อยในช่วงฤดูหนาว

และมีอากาศเย็นเป็นครั้งคราวคล้ายคลึงกับภาคกลาง แต่ในช่วงต้นฤดูอาจมีฝนตกชุกได้ ส่วนมรสุมอีกชนิดหนึ่งคือมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมนี้จะพัดประจำในฤดูฝน   และเป็นลมที่พัด

ผ่านมหาสมุทรอินเดีย จึงทำให้ประเทศไทยมีฝนตกมาก แต่เนื่องจากจังหวัดเพชรบุรีอยู่หลังทิวเขาตะนาวศรีซึ่งปิดกั้นทางลมนี้ไว้จึงเป็นที่อับฝน และมีฝนตกน้อยในช่วงฤดูฝน   ฝนส่วน

ใหญ่จะตกมากในช่วงฤดูหนาว คือระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน แบ่งฤดูกาลออกเป็น 3 ฤดูดังนี้

  • ฤดูร้อน   เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - กลางเดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝน    เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม - กลางเดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม - กลางเดือนกุมภาพันธ์

๑.๔ ลักษณะของดิน

          ลักษณะดินในตำบลตำหรุส่วนใหญ่เป็นดินร่วน และดินเหนียวปนทรายตามลำดับ ซึ่งเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่ใช้ปลูกข้าวและพืชสวน เช่น มะนาว ชมพู่ มะม่วงกล้วยและพืชผักสวนครัว

๑.๕ ลักษณะของแหล่งน้ำ

  มีแม่น้ำเพชรบุรีไหลผ่านจากตอนเหนือลงสู่ตอนใต้ ตลอดแนวทางทิศตะวันออกของตำบล และเป็นเส้นเขตติดต่อกับตำบลถ้ำรงค์ส่วนทางตะวันตกของตำบลมีห้วยมะกอกไหลผ่านตลอดแนวเป็นเส้นเขตติดต่อกับตำบลไร่สะท้อนภายในตำบลมีห้วยละหานใหญ่ไหลผ่านบริเวณทางตอนบนลงมาบรรจบกับห้วยมะกอกสภาพพื้นที่ มีความเหมาะสมกับการทำเกษตรกรรม อาทิเช่น การทำนา  การปลูกพืชไร่  พืชผักสวนครัว หรือการเลี้ยงสัตว์ แหล่งน้ำธรรมชาติ และมีแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น เช่น เหมือง คลองชลประทาน อ่างเก็บน้ำและคูส่งน้ำ เป็นต้น

๑.๖ ลักษณะของไม้และป่าไม้

         ในพื้นที่ตำบลตำหรุเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีต้นยางนา/สมอภิเภกและต้นตาลขึ้นอยู่ทั่วไป

 

-3-

๒. ด้านการเมือง/การปกครอง

๒.๑ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้    คือ

      ทิศเหนือ            ติดต่อกับตำบลบ้านลาดและตำบลท่าซ้าง อำเภอบ้านลาด                 ทิศใต้           ติดต่อกับตำบลยางหย่อง อำเภอท่ายาง   

      ทิศตะวันออก       ติดต่อกับติดต่อกับตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด                             ทิศตะวันตก   ติดต่อกับตำบลไร่สะท้อน อำเภอบ้านลาด

      องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ  มีพื้นที่ประมาณ  5,518 ไร่  โดยที่หมู่ 1 มีเนื้อที่  628 ไร่  หมู่ 2 มีเนื้อที่ 1,116 ไร่  หมู่ 3 มีเนื้อที่  427 ไร่ หมู่ 4 มี

เนื้อที่  1,095 ไร่    หมู่  5  มีเนื้อที่  1,089  ไร่      หมู่ 6  มีเนื้อที่  1,163  ไร่   โดยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอบ้านลาด  ระยะทางห่างจากอำเภอบ้านลาด

 2.8  กิโลเมตร  ห่างจากจังหวัดเพชรบุรี  8  กิโลเมตร 

๒.๒ การเลือกตั้ง          องค์การบริหารส่วนตำบลมีเขตการปกครอง จำนวนหมู่บ้าน  ๖ หมู่บ้าน  

                   (๑) ฝ่ายสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ (ท้องถิ่น)

                   ปัจจุบัน สภาองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ  มีสมาชิกจำนวน 6  คน มีที่มาจากการเลือกตั้ง จำนวน ๖  หมู่บ้าน  หมู่บ้านละ 1 คน     สภาองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ  มีหน้าที่พิจารณาและอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และเพิ่มเติม ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาตำบล และข้อบัญญัติต่างๆ ตลอดจนตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้บริหาร

๑.  นายนายวิทยา     สินสุข        ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ  (สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุหมู่ ๕)

๒.  นายปุณณรัตน์     สังข์พุก     รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ   (สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุหมู่ 2)

3.  นายอัฐพล          ทิพย์โสด     สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ หมู่ 1

4.  นายชิน             ทองจันทร์  สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ หมู่ ๓

5.  นายชลิต            แก้วพรม     สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ หมู่ ๔

6.  นางสาวสุภิญญา  กำไลแก้ว     สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ หมู่ ๖

                   (๒) ฝ่ายการเมือง  (บริหาร)

                     ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล  คือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในตำบล และรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๒ คน (นายก ฯ  แต่งตั้ง) และเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  ๑ คน

                     1. นายสอิ้ง     เอี่ยมละออง      นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ

                     2. นายสาโรศ    โชคลาภ        รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ

                     3. นางกัลยา   หอมรื่น           รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ

                     4. นางสาวประทีป เจียมอุย      เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ

 

 

 

-4-

 

                   (๓ ) ฝ่ายท้องที่

   มีกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน จำนวนหมู่บ้าน  ๖ หมู่บ้าน  ได้แก่  

   หมู่ที่    ๑  บ้านศาลาเขื่อน    มีนายจันทร   อรชร                  เป็นผู้ใหญ่บ้าน

                       หมู่ที่    ๒  บ้านระหารน้อย   มีนายโกศล    เอี่ยมละออง            เป็นผู้ใหญ่บ้าน

                       หมู่ที่    ๓  บ้านตำหรุใน       มีนายพิศิษฐ์   วิวัฒนพงศ์เพชร        เป็นผู้ใหญ่บ้าน

             หมู่ที่    ๔  บ้านตำหรุ          มีนายไตรรัตน์  สัยเวช                  เป็นกำนัน       

             หมู่ที่    ๕  บ้านละหานใหญ่   มีนายสรวัชร   กลิ่นเจริญ              เป็นผู้ใหญ่บ้าน     

                                หมู่ที่    ๖  บ้านท่ามะเกลื่อ   มีนายพิมพ์      ทรหด                 เป็นผู้ใหญ่บ้าน

 

๓. ประชากร

          ๓.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

ประชากรมีจำนวนทั้งสิ้น   ๒,๘42  คน  แยกเป็น  ชาย ๑,๓40  คน   หญิง  ๑,๕02 คน  จำนวนครัวเรือน  909  ครัวเรือน  แยกเป็นรายหมู่บ้าน 

(ข้อมูล  ณ วันที่  11 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2565)

 

หมู่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนประชากร

จำนวนครัวเรือน

ชาย(คน)

หญิง(คน)

รวม(คน)

1

บ้านศาลาเขื่อน

๒60

๒76

๕36

๑86

2

บ้านระหารน้อย          

๓78

๔42

820

๒58

3

บ้านตำหรุใน           

๑11

๑15

๒26

82

4

บ้านตำหรุ

๑67

๑75

๓42

103

5

บ้านละหานใหญ่

๒08

๒63

๔71

๑๓7

6

บ้านท่ามะเกลื่อ

๒16

๒31

๔47

๑43

รวม

๑,๓40

๑,๕02

๒,๘42

909

 

 

 

-5-

 

๔. สภาพสังคม

           ๔.๑ การศึกษา

-   โรงเรียนประถมศึกษา                    ๒  แห่ง        (ร.ร.วัดศาลาเขื่อน(อุทัยเพชร) และ ร.ร.อินจำปา)

-   ศูนย์การเรียนชุมชน                      ๑  แห่ง        -ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก          ๑        แห่ง

-   ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน        ๗  แห่ง        -หอกระจายข่าว              5       แห่ง           - เสียงไร้สาย   ๑        แห่ง    

  ๔.๒ การสาธารณสุข

-   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน        ๑        แห่ง                     -   คลีนิคเอกชน     ๑       แห่ง

๕. ระบบบริการพื้นฐาน

๕.๑ การคมนาคมขนส่ง  การคมนาคมของประชาชนส่วนใหญ่เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวและรถจักรยานยนต์  เนื่องจากมีระยะทางไม่ไกลจากตัวอำเภอ และจังหวัดมากนัก

๕.๒ การไฟฟ้า     มีไฟฟ้าใช้ทั้ง  ๖   หมู่บ้าน คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์

          ๕.๓ การประปา   องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุมีระบบประปาอยู่ในความรับผิดชอบดูแล จำนวน ๑ แห่ง และเป็นระบบประปาหมู่บ้าน ๑  แห่ง  ประชาชนใช้ประปาร้อยละ  ๑๐๐

๕.๔ โทรศัพท์   ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนตัวและมีตู้ส่งสัญญาณขององค์การโทรศัพท์

๕.๕ ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

       เนื่องจากตำบลตำหรุอยู่ใกล้กับอำเภอบ้านลาดจึงไม่มีหน่วยให้บริการไปรษณีย์ ประชาชนส่วนใหญ่ไปใช้บริการที่ไปรษณีย์ที่อำเภอบ้านลาด

๖. ระบบเศรษฐกิจ

๖.๑ การเกษตร

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากสภาพพื้นที่ที่ราบลุ่มและมีลักษณะสภาพดินเป็นดินเหนียวปนทราย และดินร่วน มีแหล่งน้ำที่ไหลผ่านได้แก่ แม่น้ำเพชรบุรี จึงเหมาะแก่การทำเกษตร เช่นการทำนา ทำไร่ ทำสวน เช่น มะนาว  ชมพู่  มะม่วง  กล้วยและพืชผักสวนครัว เป็นต้น

๖.๒ การประมง

พื้นที่ในตำบลตำหรุเป็นที่พื้นที่ทำนา ทำไร่ ทำสวนเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีการเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ในครัวเรือนเป็นต้น  เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว

๖.๓ การปศุสัตว์

ในตำบลตำหรุไม่มีพื้นที่ปศุสัตว์ (ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรอำเภอบ้านลาด) แต่ซาวบ้านอาศัยเลี้ยงสัตว์ ในบริเวณรอบบ้านหรือหัวไร่ปลายนา ชนิดสัตว์ที่ประชาชนนิยมเลี้ยงในพื้นที่ได้แก่  เลี้ยงวัว  เลี้ยงไก่  เลี้ยงหมู เป็นต้น

 

 

-6-

                  

 

 

๖.4 การท่องเที่ยว

          -อ่างเก็บน้ำละหานใหญ่

 

๖.5 กลุ่มอาชีพ

-กลุ่มทำน้ำพริกแกง

-กลุ่มขนมหวานละหานใหญ่

 

๖.6 แรงงาน

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ค้าขาย รับจ้างและรับราชการ ดังนั้นแรงงานส่วนใหญ่ภายในตำบลจึงมีอาชีพหลักคือ เกษตรกรรม ส่วนที่เหลือจะก็ไป

หางานทำนอกเขตพื้นที่และต่างจังหวัด  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-7-

๖.7  การบริการ(หน่วยธุรกิจ)

ประเภทหน่วยธุรกิจ

จำนวน (แห่ง)

สถานีบริการน้ำมันถังหัวจ่ายอัตโนมัติ

ร้านค้า(อาหาร  เครื่องดื่ม)

๑๒

ร้านค้า เบ็ดเตล็ด

๑๙

โรงเรือนขนมจีน

ร้านซ่อมมอเตอร์ไซด์

ร้านค้ากระจกอลูมิเนียม

โรงสีข้าว

โรงเรือนเต็นท์/โต๊ะ/เก้าอี้(ให้เช่า)

ร้านเสริมสวย

ร้านซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า

ร้านค้าแก๊ส

ร้านขายและซ่อมมือถือ

ร้านขายต้นไม้

โรงไม้ล้างรถยนต์(คาร์แคร์)

ร้านตัดผมชาย

โรงผลิตน้ำดื่ม

โกดังสินค้า

ร้านขายปุ๋ย/ยาฆ่าแมลง

ร้านซักอบรีด

2

คลินิก

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

รวม

๖๖

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 -8-

 

               7.  ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

                     7.1 ศาสนา  ความเชื่อ                                                                                            

 

ลำดับที่

สถานที่ตั้งองค์กรทางศาสนา/ความเชื่อ

ชื่อองค์กรทางศาสนา/ความเชื่อ

๑.

หมู่ที่ ๑  บ้านศาลาเขื่อน

วัดศาลาเขื่อน

๒.

หมู่ที่ ๒  บ้านระหารน้อย

วัดระหารน้อย

๓.

หมู่ที่ ๔  บ้านตำหรุ

วัดตำหรุ

๔.

หมู่ที่ ๖  บ้านท่ามะเกลื่อ

วัดอินจำปา

๕.

หมู่ที่ ๑  บ้านศาลาเขื่อน

ร่างทรง  คุณป้าเกริ่ม ชูวงศ์ (บ้านเลขที่  ๕๙)

๖.

หมู่ที่ ๑  บ้านศาลาเขื่อน

ศาลหลวงปู่กัณฑ์และหลวงพ่อเกตุ(ตั้งอยู่บริเวณคันท่า)

 ๗.

หมู่ที่ ๔  บ้านตำหรุ

แผ่นไม้ตะเคียนทอง(เก็บรักษาไว้ที่วัดตำหรุ)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-9-

 

                              7.๒ ประเพณีและงานประจำปี

 

ลำดับที่

บุคคล/องค์กร/สถานที่ฯ

ประเพณีและวัฒนธรรมพื้นบ้าน

 
 

นางเงิน      เอี่ยมสะอาด

 การละเล่นเรือบก หมู่ที่ ๑ บ้านศาลาเขื่อน

 

คณะ ว.รวมศิลป์  โดยนายสวิง อุ่นใจพื่อน

 หนังตะลุง หมู่ที่ ๒ บ้านระหารน้อย

 

คณะศิษย์ครูทรง  โดยนายถม ทรหด

 หนังตะลุง  หมู่ที่ ๖ บ้านท่ามะเกลื่อ

 

ตำบลตำหรุ

 วัวลาน

 

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี

งานสะพานรักศาลาเขื่อน    

 

วันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี

แข่งเรือยาว  ณ.อ่างเก็บน้ำละหานใหญ่ หมู่ที่ ๕ บ้านละหานใหญ่   

 

วันที่ ๓๑ ธันวาคม ของทุกปี

ทำบุญกลางบ้าน ของหมู่ที่ ๓ บ้านตำหรุใน  

 

วัดศาลาเขื่อน/วัดระหารน้อย

แห่เทียนเข้าพรรษา

 

วัดตำหรุ/วัดอินจำปา

แห่เทียนเข้าพรรษา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-10-

                         7.๓ ภูมิปัญญาท้องถิ่น                                                                               

ลำดับที่                 

บุคคล

ภูมิปัญญา

 
 

นางรอน  สะอิ้งทอง / นางรงค์ ทองจันทร์

สานเข่ง

 

 2

นายยงยุทธ     ดำรงเรืองสกุล

ปลูกผักในน้ำ     

 

จ่าสิบเอกเพียน

ปั้นหัววัว 

 

นายพีระ      มีนุช

ทำแห

 

นายสำราญ   สวัสดี

ทำตัวหนังตะลุง 

 

นายทิม        ศรีเมือง

ทำเตียงผ้าใบ 

 

นายเฉลียว/นางนันทยา  อยู่สุข

ปั้นแป้ง

 

เจ้าอาวาสวัดอินจำปา

ทำยาหอม/ยาหม่อง/พิมเสนน้ำ/ยาลูกกอน

 

นายผ่าน       ครึกครื้น

ชุดกลองยาว

 

๑๐

นายมน        แสงประทิน

หมอดิน         

 

๑๑

นายบุญยิ่ง    สัตบุตร

ต่อตู้ลำโพง    

 

๑๒

นายทองเจือ  มงคลเอก

ทำข้าวหลาม  

 

๑๓

นางหนู        ขำทอง

ทำหมากแห้งส่งไต้หวัน  

 

๑๔

นายครรชิต   วรรณา

ทำเรือยาว

 

๑๕

นางมะยม    สุขดำเนิน

 ทำขนมจีน     

 

๑๖

น.ส.สายฝน  จุ้ยทอง/ นางบุญยืน 

สัตบุตร  

เชี่ยวชาญด้านบีบนวดคัดท้อง ทำลูกประคบ

 

๑๗

นางยืน    วังเวงจิตร

ทำน้ำตาลโตนด 

 

๑๘

นายเย็น   วังเวงจิตร

ขึ้นต้นตาล         

 

 

                                                                                                                                                          

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                                                                                   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-11-

 

                     8.  ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่

                          8.๑ น้ำ

                        - มีแม่น้ำ  ๑  สาย (เพชรบุรี) 

                    - มีคลองชลประทานใช้ในการเกษตร 

                     - ลำห้วย ๒ แห่ง (ลำห้วยแฟบ,ลำห้วยกระซาย)

 

                 8.๒ ป่าไม้

                     - มีต้นยางนาและต้นตาลขึ้นอยู่ทั่วไป

 

                 8.3  คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

                    -  ตำบลตำหรุ  มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีแม่น้ำเพชรบุรี และระบบคลองชลประทานเต็มพื้นที่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                                                                 

 

 

 

 

 

ส่วนที่ ๒

ยุทธศาสตร์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

 

 

 

 

 -12-

 

ส่วนที่ ๒    ยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

*********************************************

2.1  ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาค

 

            2.๑.๑ แผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี

 ในการที่จะบรรลุวิสัยทัศน์และทำให้ประเทศไทยพัฒนาไปสู่อนาคตที่พึงประสงค์นั้น จำเป็นจะต้องมีการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะยาว และกำหนดแนวทางการพัฒนาของทุกภาคส่วนให้ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ชาติในระยะยาว เพื่อถ่ายทอดแนวทางการพัฒนาสู่การปฏิบัติในแต่ละช่วงเวลาอย่างต่อเนื่องและมีการบูรณาการ  และสร้างความเข้าใจถึงอนาคตของประเทศไทยร่วมกัน และเกิดการรวมพลังของทุกภาคส่วนในสังคมทั้งประชาชน เอกชน ประชาสังคมในการขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อการสร้างและรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติและบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”หรือคติพจน์ประจำชาติ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”เพื่อให้ประเทศมีขีดความสามารถในการแข่งขัน มีรายได้สูงอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว คนไทยมีความสุข อยู่ดี กินดี สังคมมีความมั่นคงเสมอภาคและเป็นธรรม ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติที่จะใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาในระยะ ๒๐ ปีต่อจากนี้ไปจะประกอบ ด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ ได้แก่  (๑) ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง  (๒) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน (๓) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์(๔) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม       (๕) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  และ      (๖) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ   โดยมีสาระสำคัญของแต่ละยุทธศาสตร์ สรุปได้ ดังนี้

                     ๑. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง มีเป้าหมายทั้งในการสร้างเสถียรภาพภายในประเทศและช่วยลด  และป้องกันภัยคุกคามจากภายนอก รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มประเทศอำเซียนและประชาคมโลกที่มีต่อประเทศไทย กรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ

  1. การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  2. การปฏิรูปกลไกการบริหารประเทศและพัฒนาความมั่นคงทางการเมือง ขจัดคอร์รัปชั่น สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม
  3. การรักษาความมั่นคงภายในและความสงบเรียบร้อยภายใน ตลอดจนการบริหารจัดการความมั่นคงชายแดนและชายฝั่งทะเล
  4. การพัฒนาระบบ กลไก มาตรการและความร่วมมือระหว่างประเทศทุกระดับ และรักษาดุลยภาพความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่           
  5. การพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพการผนึกกาลังป้องกันประเทศ การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ          
  6. การพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติและระบบบริหารจัดการภัยพิบัติ รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

(๗)  การปรับกระบวนการทางานของกลไกที่เกี่ยวข้องจากแนวดิ่งสู่แนวระนาบมากขึ้น

 

 

 

-13-

2.    ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน   เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งจาเป็นต้องยกระดับผลิตภาพการผลิตและการใช้นวัตกรรมในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในสาขาอุตสาหกรรม เกษตรและบริการ การสร้างความมั่นคงและปลอดภัยด้านอำหาร การเพิ่มขีดความสามารถทางการค้าและการเป็นผู้ประกอบการ รวมทั้งการพัฒนาฐานเศรษฐกิจแห่งอนาคต ทั้งนี้ภายใต้กรอบการปฏิรูปและพัฒนาปัจจัยเชิงยุทธศาสตร์ทุกด้าน อันได้แก่โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาทุนมนุษย์ และการบริหารจัดการทั้งในภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน กรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ

(1)  การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ได้แก่การรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมั่น การส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่อยู่บนการแข่งขันที่เป็นธรรม   และรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนการพัฒนาประเทศสู่ความเป็นชาติการค้าเพื่อให้ได้ประโยชน์จากห่วงโซ่มูลค่าในภูมิภาค และเป็นการยกระดับไปสู่ส่วนบนของห่วงโซ่มูลค่ามากขึ้น

                        (2)  การพัฒนาภาคการผลิตและบริการ บนฐานของการพัฒนานวัตกรรมและมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการใช้ดิจิทัลและการค้าที่เข้มข้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายกิจกรรมการผลิตและบริการ โดยมุ่งสู่ความเป็นเลิศในระดับโลกและในระดับภูมิภาคในอุตสาหกรรมหลายสาขา และในภาคบริการที่หลากหลายตามรูปแบบการดาเนินชีวิตและการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป รวมทั้งเป็นแหล่งอำหารคุณภาพ สะอาดและปลอดภัยของโลก

- ภาคเกษตร โดยเสริมสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็งและยั่งยืน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยให้ปรับไปสู่การทาการเกษตรยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและรวมกลุ่มเกษตรกรในการพัฒนาอำชีพที่เข้มแข็ง และการพัฒนาสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพและอำหารคุณภาพ สะอาด และปลอดภัย

- ภาคอุตสาหกรรม โดยพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมปัจจุบันที่มีศักยภาพสูง และพัฒนาอุตสาหกรรมอนาคตที่มีศักยภาพ โดยการใช้ดิจิทัลและการค้ามาเพิ่มมูลค่าและยกระดับห่วงโซ่มูลค่าในระดับสูงขึ้น

- ภาคบริการ โดยขยายฐานการบริการให้มีความหลากหลาย มีความเป็นเลิศและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการยกระดับบริการที่เป็นฐานรายได้เดิม เช่น การท่องเที่ยว และพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการให้บริการสุขภาพ ธุรกิจบริการด้านการเงินและธุรกิจบริการที่มีศักยภาพอื่น ๆ เป็นต้น

(3)การพัฒนาผู้ประกอบการและเศรษฐกิจชุมชน พัฒนาทักษะผู้ประกอบการ ยกระดับผลิตภาพแรงงานและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สู่สากล และพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและสถาบันเกษตรกร

(4)การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษและเมืองพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และพัฒนาระบบเมืองศูนย์กลางความเจริญ จัดระบบผังเมืองที่มีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วม มีการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง และโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับศักยภาพ

(5)การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในด้านการขนส่ง ด้านพลังงาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและการวิจัยและพัฒนา

(6)การเชื่อมโยงกับภูมิภาคและเศรษฐกิจโลกสร้างความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนากับนานาประเทศ ส่งเสริมความร่วมมือกับนานาชาติในการสร้างความมั่นคงด้านต่างๆ เพิ่มบทบาทของไทยในองค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงสร้างองค์ความรู้ด้านการต่างประเทศ

            . ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน   เพื่อพัฒนาคนและสังคมไทยให้เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของประเทศมีความพร้อมทางกาย ใจ สติปัญญา มีความเป็นสากล มีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย มีคุณธรรมจริยธรรม รู้คุณค่าความเป็นไทย มีครอบครัวที่มั่นคง กรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ

(๑) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ

(๒) การยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ เท่าเทียม และทั่วถึง

(๓) การปลูกฝังระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรมค่านิยมที่พึงประสงค์

(๔) การสร้างเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดี

(๕) การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยเสริมสร้างบทบาทของสถาบัน

ครอบครัวในการบ่มเพาะจิตใจให้เข้มแข็ง

 

 

-14-

 

 

๔. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม

เพื่อเร่งกระจายโอกาสการพัฒนาและสร้างความมั่นคงให้ทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้าไปสู่สังคมที่เสมอภาคและเป็นธรรม กรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ

(๑) การสร้างความมั่นคงและการลดความเหลื่อมล้าทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

(๒) การพัฒนาระบบบริการและระบบบริหารจัดการสุขภาพ

(๓) การสร้างสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมที่เอื้อต่อการดารงชีวิตในสังคมสูงวัย

(๔) การสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคมทุนทางวัฒนธรรมและความเข้มแข็งของชุมชน    

(๕) การพัฒนาการสื่อสารมวลชนให้เป็นกลไกในการสนับสนุนการพัฒนา

๕. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  

เพื่อเร่งอนุรักษ์ฟื้นฟูและสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติ และมีความมั่นคงด้านน้า รวมทั้งมีความสามารถในการป้องกันผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติธรรมชาติ และพัฒนามุ่งสู่การเป็นสังคมสีเขียว กรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ

(๑) การจัดระบบอนุรักษ์ ฟื้นฟูและป้องกันการทาลายทรัพยากรธรรมชาติ

(๒) การวางระบบบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพทั้ง ๒๕ ลุ่มน้า เน้นการปรับระบบ

การบริหารจัดการอุทกภัยอย่างบูรณาการ

                     (๓) การพัฒนาและใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

(๔) การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

(๕) การร่วมลดปัญหาโลกร้อนและปรับตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

(๖) การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และนโยบายการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม

            ๖. ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ มีสมรรถนะสูง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลกระจายบทบาทภารกิจไปสู่ท้องถิ่นอย่างเหมาะสม มีธรรมาภิบาลกรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ

  1. การปรับปรุงโครงสร้าง บทบาท ภารกิจของหน่วยงานภาครัฐ ให้มีขนาดที่เหมาะสม

(๒) การวางระบบบริหารราชการแบบบูรณาการ

(๓) การพัฒนาระบบบริหารจัดการกาลังคนและพัฒนาบุคลากรภาครัฐ

(๔) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ

(๕) การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบต่าง ๆให้ทันสมัย เป็นธรรมและเป็นสากล

(๖) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ

(๗) การปรับปรุงการบริหารจัดการรายได้และรายจ่ายของภาครัฐ

 

 

 

 

 

-15-

 

2.1.2  ทิศทางและกรอบยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑3 (พ.ศ. ๒๕๖6-๒๕70)

                     แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) มีสถานะเป็นแผนระดับที่ ๒ ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ   และใช้เป็นกรอบ  

สำหรับการจัดทำแผนระดับที่ ๓ เพื่อให้การดำเนินงานของภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องสามารถสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ตามกรอบระยะเวลาที่คาดหวังไว้ได้โดยพระราชบัญญัติสภา

พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ บัญญัติให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ส่งผลให้กรอบระยะเวลา ๕ ปีของแผนพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ เริ่มต้น ณ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ครอบคลุมปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ ซึ่งเป็นระยะ ๕ ปีที่สองของยุทธศาสตร์ชาติ

                         ในการกำหนดทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ ให้ประเทศสามารถก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆ เพื่อให้ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตาม 

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ตามเจตนารมณ์ของยุทธศาสตร์ชาติ ได้อาศัยหลักการและแนวคิด ๔ ประการ ดังนี้

                         ๑. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสืบสาน รักษา ต่อยอดการพัฒนาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ผ่านการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างมีเหตุผล ความพอ

ประมาณ ภูมิคุ้มกัน บนฐานของความรู้ คุณธรรม และความเพียร โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับสถานการณ์และเงื่อนไข ระดับประเทศและระดับโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ และศักยภาพของทุนทาง

เศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความสมดุล ในมิติต่าง ๆ ทั้งความสมดุลระหว่างการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันกับต่าง

ประเทศกับความสามารถ ในการพึ่งตนเองได้อย่างมั่นคง ความสมดุลของการกระจายโอกาสเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มคน และพื้นที่ และความสมดุลทางธรรมชาติเพื่อให้คนอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน รวมถึงการบริหารจัดการองคาพยพต่าง ๆ ของประเทศให้พร้อมรับกับความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายนอกและภายในประเทศ นอกจากนี้ในการวางแผนและการขับเคลื่อน

แผนไปสู่การปฏิบัติต้องอาศัย องค์ความรู้ทางวิชาการที่รอบด้านและพิจารณาด้วยความรอบคอบ ควบคู่กับการยึดถือผลประโยชน์ ของประชาชนส่วนรวมเป็นที่ตั้ง และมุ่งมั่นผลักดันให้การพัฒนาบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

                         ๒. การสร้างความสามารถในการ “ล้มแล้ว ลุกไว” โดยมุ่งเน้นการพัฒนาใน ๓ ระดับ ประกอบด้วย

                             ๑) การพร้อมรับ หรือ ระดับ “อยู่รอด” ในการแก้ไขข้อจำกัดหรือจุดอ่อนที่มีอยู่ ซึ่งเป็นผลให้ประชาชน ประสบความยากลำบากในการดำรงชีวิต หรือทำให้ประเทศมีความเปราะบางต่อ

การเปลี่ยนแปลง จากภายนอกและภายใน รวมถึงการสร้างความพร้อมในทุกระดับในการรับมือกับสภาวะวิกฤติที่อาจเกิดขึ้น ให้สามารถฟื้นคืนสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว

                             ๒) การปรับตัว หรือ ระดับ “พอเพียง” ในการปรับเปลี่ยน ปัจจัยที่จำเป็นเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ในระดับครอบครัว ชุมชน พื้นที่ และประเทศ

รวมถึงปรับทิศทาง รูปแบบ และแนวทางการพัฒนาให้สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลง ของโลกยุคใหม่

                            ๓) การเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน หรือ ระดับ “ยั่งยืน” ในการผลักดัน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในมิติต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความสามารถของบุคคลและสังคมใน

การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อสนับสนุนให้ประเทศสามารถเติบโตได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

                        ๓. เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติโดยกำหนดทิศทางการพัฒนาที่อยู่ บนพื้นฐานของแนวคิด “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” มุ่งเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม

ทั้งในมิติ ของการมีปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานที่เพียงพอ การมีสภาพแวดล้อมที่ดี การมีปัจจัย สนับสนุนให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ การมีโอกาสที่จะใช้ศักยภาพของตน

ในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดี และการมุ่งส่งต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีไปยังคนรุ่นต่อไป

                       ๔. การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว โดยให้ความสำคัญกับ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อ

สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากฐาน ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต การ

ให้บริการ และการบริโภคเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

-16-

 

 

2.๑.๓ แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด

      ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง ๒ ประกอบไปด้วย  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  สมุทรสงคราม เพชรบุรี  สมุทรสาคร 

      ประเด็นการพัฒนา ที่ 1  เสริมสร้างและพัฒนาต้นทุนทางทรัพยากรภาคการเกษตร

      ประเด็นการพัฒนาที่ 2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและศักยภาพสินค้า และบริการเพื่อการท่องเที่ยว การค้า และพื้นที่ทางเศรษฐกิจ

      ประเด็นการพัฒนาที่ 3  อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

      ประเด็นการพัฒนาที่ 4 เพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมด้วยนวัตกรรมและแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั้งยืน

 

2.1.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี

      วิสัยทัศน์จังหวัดเพชรบุรี

           “เมืองเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ และเมืองน่าอยู่ น่ากิน น่าเที่ยวระดับประเทศ”

      พันธกิจ

           ๑. เสริมสร้างขีดความสามารถของจังหวัดรองรับการแข่งขันรองรับการพัฒนาตามทิศทาง การพัฒนาประเทศไทยที่มั่นคงมั่งคั่งยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว

           ๒. เสริมสร้างความพร้อมของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เข้มแข็ง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างรายได้สู่ชุมชน สร้างงาน อาชีพแก่ประชาชนสร้างเศรษฐกิจจังหวัด

           ๓. ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาการเกษตร และเกษตรอุตสาหกรรมก้าวหน้าแบบ ครบวงจรให้มีศักยภาพในการผลิตที่มีคุณภาพ

           ๔. เสริมสร้างสังคมคุณภาพ ให้มีสุขภาวะเรียนรู้และปรับตัวได้อย่างมีศักยภาพในการจัดการ ตนเองเป็นชุมชนพอเพียง ประชาชนมีความมั่งคงในชีวิตเป็นชุมชน ปลอดภัยอบอุ่น น่าอยู่

           ๕. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

            ๖. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการคมนาคม และระบบโลจิสติกส์  รองรับการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และคุณภาพชีวิต

           ๗. พัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้มีความทันสมัย  ยึดหลักธรรมาภิบาล พัฒนาขีดสมรรถนะ บุคลากรภาครัฐทุกระดับให้มีความพร้อมรองรับยุทธศาสตร์จังหวัด และทิศทางการ

พ้ฒนาประเทศ

               เป้าประสงค์รวม

๑. ผลิตภัณฑ์มวลรวมเฉลี่ยระดับจังหวัดในด้านการเกษตร การท่องเที่ยว การค้า การลงทุน เติบโตอย่างต่อเนื่อง

๒. จังหวัดเพชรบุรีสามารถรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร สร้างสมดุล ระหว่าง การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม ขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีขีดความสามารถในการรับมือภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ประสิทธิภาพและธรรมมาภิบาลในการบริหาร จัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการน้ำให้สมดุล

๓. ประชาชนทุกช่วงวัยมีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม (Social-Economic Security) และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การศึกษาและการเรียนรู้ได้รับการพัฒนาคุณภาพ สถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็งเป็นฐานรากที่เอื้อต่อการพัฒนาคน

๔. การกระจายรายได้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น บริการทางสังคมมีคุณภาพและมีการกระจายอย่างทั่วถึง

๕. การบริหารงานภาครัฐทุกระดับของจังหวัดเพชรบุรี  โปร่งใสเป็นธรรมมีประสิทธิภาพ และประชาชนมีส่วนร่วมขจัดการทุจริตคอร์รัปชั่น

 

 

      

 

-17-

 

   2.1.5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดเพชรบุรี

                        ยุทธศาสตร์ที่ ๑     การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

                        แนวทางการพัฒนา             ๑. งานด้านคมนาคมและการขนส่ง ก่อสร้างปรับปรุงบำรุงรักษาถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำ พัฒนาระบบจราจร

                                                            ๒. งานด้านสาธารณูปโภค พัฒนาระไฟฟ้า–ประปา พัฒนาแหล่งน้ำ คูคลอง และระบบชลประทาน

                                                            ๓. งานด้านการผังเมือง ผังเมืองเฉพาะ และป้องกันการบุกรุกที่สาธารณะประโยชน์

                        ยุทธศาสตร์ที่ ๒     การพัฒนาด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต

            แนวทางการพัฒนา ๑. งานด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจและอาชีพให้กับประชาชน

                                                1. งานด้านสวัสดิการสังคม(ผู้สูงอายุ/คนพิการ/ผู้ด้อยโอกาส/ผู้ป่วยเอดส์)

                                                2. งานด้านการศึกษา

                                                3. งานด้านการสาธารณสุข

                                                4. งานด้านส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ

 

                        ยุทธศาสตร์ที่ ๓     การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย

            แนวทางการพัฒนา             ๑. งานด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย

                                                ๒. งานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                                                ๓. งานด้านแก้ไขปัญหายาเสพติด

                                                ๔. งานด้านการสาธารณสุข

                        ยุทธศาสตร์ที่ ๔     การพัฒนาด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชกรรม เศรษฐกิจพอเพียง และการท่องเที่ยว

            แนวทางการพัฒนา             ๑. งานด้านการส่งเสริมการลงทุน

                                                ๒. งานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                                                ๓. งานด้านการพาณิชกรรม

                                                ๔. งานด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง

                                                ๕. งานด้านการท่องเที่ยว

                                              

                        ยุทธศาสตร์ที่ ๕     การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

            แนวทางการพัฒนา             ๑. งานด้านการป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                                                ๒. งานด้านการจัดการขยะในชุมชน

                                                ๓. งานด้านการส่งเสริมให้เกิดการผลิต การบริการ การบริโภค เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

 

 

 

-18-

 

                        ยุทธศาสตร์ที่ ๖     การพัฒนาด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

            แนวทางการพัฒนา             ๑. งานด้านการส่งเสริม เผยแพร่ และอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ

                        ยุทธศาสตร์ที่ ๗     การพัฒนากระบวนการบริหารจัดการที่ดีในองค์กรและการมีส่วนร่วมของประชาชน

            แนวทางการพัฒนา             ๑. งานด้านการพัฒนาการบริหารจัดการที่ดีในองค์กร

                                                ๒. งานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และการป้องกันการทุจริต

                                                ๓. งานด้านการปรับปรุงและพัฒนาบุคลากรในองค์กร

                                                ๔. งานด้านการปรับปรุงและพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ และสถานที่ปฏิบัติงาน

                                                ๕. งานด้านการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการท้องถิ่น

                                                ๖. งานด้านการส่งเสริมค่านิยม ๑๒ ประการ

 

2.1.6 ยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอบ้านลาด

 

วิสัยทัศน์อำเภอบ้านลาด

            “บ้านลาดน่าอยู่ น่าเที่ยว สืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม การเกษตรก้าวหน้าและยั่งยืน ประชาชนดำเนินวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

พันธกิจ  

๑.  เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของอำเภอโดยระดมพลัง การมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการของทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาอำเภอให้เป็นเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว และประชาชนอยู่ดีมีสุข

                                ๒. .เสริมสร้างสมรรถนะและความเข้มแข็งของหมู่บ้าน / ชุมชน เพื่อให้ใช้แผนชุมชนที่มีคุณภาพเป็นยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการพัฒนา และการกำหนดตำแหน่งอาชีพตามศักยภาพ

            ๓.  ภูมิสังคม และทุนทางสังคมโดยให้หมู่บ้าน / ชุมชน เปิดศูนย์กลางการพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

 

เป้าหมายประสงค์การพัฒนาอำเภอบ้านลาด

              ๑) ทำให้อำเภอบ้านลาดน่าอยู่

                  ๒) ทำให้อำเภอบ้านลาดน่าเที่ยว

                        ๓) เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ผลิตอาหารที่ปลอดภัยเพื่อการบริโภคทั้งในชุมชน ท้องถิ่น และขยายออกสู่ตลาดภายนอก

                  ๔) เพิ่มศักยภาพผู้ผลิต / สินค้า SMEs / OTOP เพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนและท้องถิ่นและมีเครือข่ายผู้ประกอบการ

ประเด็นยุทธศาสตร์  และแนวทางการพัฒนา / กลยุทธ์

                  ๑.) การทำให้อำเภอบ้านลาด สวย สะอาด มั่นคง ปลอดภัย สังคม และชุมชนเข้มแข็งประชาชนได้รับบริการที่ดีจากรัฐ

                                     ๑.๑ วางแผนการใช้ประโยชน์การใช้พื้นที่ให้เหมาะสม

                              ๑.๒  พัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน คูคลอง แม่น้ำ

 

 

-19-

 

            ๑.๓ การบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                              ๑.๔ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ พัฒนาตนโดยยึดคุณธรรมนำความรู้และจริยธรรมเตรียมความพร้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนา

            ๑.๕ สร้างเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน

                                    ๑.๖ สร้างเสริมความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

            ๑.๗ สร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในเชิงบูรณาการตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

                              ๑.๘ สร้างเสริมระบบการบริหารจัดการที่ดีและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและบริการประชาชน

                              ๑.๙ ส่งเสริมเทคโนโลยีการใช้พลังงานทดแทนและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้พลังงานทดแทน

                ๒.) การพัฒนาให้เป็นเมืองท่องเที่ยวจัดกิจกรรมนันทนาการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม และเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน  ธรรมชาติและการเกษตร

                                                ๒.๑ พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว (มัคคุเทศก์,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,ผู้ประกอบการ)

                              ๒.๒ ปรับปรุงเส้นทางท่องเที่ยว และสาธารณูปโภคพื้นฐาน

                              ๒.๓ พัฒนาเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว

                                    ๒.๔ ปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และศูนย์การเรียนรู้ ด้านชุมชน ธรรมชาติและการเกษตร                 

                                    ๒.๕ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม  ศาสนา ภูมิปัญญาท้องถิ่นสุขภาพการกีฬา และนันทนาการ

                              ๒.๖ สร้างความมั่นคง สะดวกปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว

                      ๓.) การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และอาหารที่ปลอดภัยเพื่อการบริโภคทั้งภายในท้องถิ่น และกระจายสู่ตลาด

                                        ๓.๑ ส่งเสริมและขยายผลการนดำเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเกษตรทฤษฎีใหม่เกษตรอินทรีย์ โดยใช้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นต้นแบบ

๓.๒ พัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำสำรองของท้องถิ่นและวางระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ

๓.๓ กำหนดเขตการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในแต่ละตำบล

                              ๓.๔ ส่งเสริมการตลาดทั้งในชุมชนและนอกชุมชนรวมทั้งการแลกเปลี่ยนผลผลิตทางการเกษตรกับชุมชนอื่น ๆ

                              ๓.๕ บูรณาการแผนการฝึกอบรมของส่วนราชการลงสู่พื้นที่ร่วมกัน

                              ๓.๖ ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน

               ๔.) ส่งเสริมอุตสาหกรรม SMEs และ OTOP

                                            ๔.๑ สร้างเสริมความรู้ให้ชุมชนนำภูมมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนา สินค้า SMEs / OTOP และวิสาหกิจชุมชน

                              ๔.๒ พัฒนามาตรฐานการผลิตและบรรจุภัณฑ์สินค้า SMEs / OTOP และวิสาหกิจชุมชน

                              ๔.๓ ส่งเสริมด้านการตลาด สินค้า SMEs /OTOP และวิสาหกิจชุมชน

                              ๔.๔ สร้างเสริมความรู้ด้านบริหารจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม และการเชื่อมโยงเครือข่ายผลิตภัณฑ์สู่การแข่งขันในระดับสากล

                                            ๔.๕ สนับสนุนให้โรงงานอุตสาหกรรมใช้เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดสามารถอยู่กับชุมชนและสิ่งแวดล้อม

                                    ๔.๖ พัฒนาศักยภาพ และสมรรถนะของแรงงาน เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมเป้าหมา

 

 

-20-

           

 

๒.2 ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ

๒.๑ วิสัยทัศน์การพัฒนาของ องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ

            “องค์กรที่มีสมรรถภาพสูงในการสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่”

            ๒.๒ ยุทธศาสตร์การพัฒนา

                        องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ  จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้สามารถดำเนินก้าวไปสู่วิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ๗  ยุทธศาสตร์ ดังนี้

๑. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

๒. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมการศึกษา และพัฒนาคุณภาพชีวิต

๓. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชนสังคมและการรักษาความเรียบร้อย

๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการวางแผน การส่งเสริมลงทุนพาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว              

๕. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม              

๖.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศิลปะ วัฒนธรรมจารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น 

๗. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านกระบวนการบริหารจัดการที่ดีในองค์กรและการมีส่วนร่วมของประชาชน

            ๒.๓ เป้าประสงค์

๑. เพื่อพัฒนาปรับปรุง ถนน สะพาน แหล่งน้ำ ประปา ไฟ้ฟา จราจร ฯลฯ

๒. เพื่อส่งเสริมอาฃีพ การศึกษา สุขภาพอนามัย การกีฬา นันทนาการ สวัสดิการสังคม ฯลฯ

๓. เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในฃีวิตและทรัพย์สิน

                        ๔. เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น                                               

๕. เพื่อให้ชุมชนสามารถรักษาวิถีชีวิตการเกษตรไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีภูมิทัศน์ตามถนนสายหลักของแต่ละหมู่บ้านสวยสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีสำนึก และมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น

๖. เพื่อเผยแพร่ และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๗.เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับประฃาฃนที่มารับ บริการจาก อบต.และเห็นว่า อบต.สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๒.๔ ตัวชี้วัด

๑. ร้อยละของการพัฒนาปรับปรุง ถนน สะพาน แหล่งน้ำ ประปา ไฟ้ฟา จราจร ฯลฯ

๒. ร้อยละของการส่งเสริมอาฃีพ การศึกษา สุขภาพอนามัย การกีฬา นันทนาการ สวัสดิการสังคม ฯลฯ

๓. ร้อยละของการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในฃีวิตและทรัพย์สิน

                        ๔. ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

-21-

 

                                               

๕. ชุมชนสามารถรักษาวิถีชีวิตการเกษตรไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีภูมิทัศน์ตามถนนสายหลักของแต่ละหมู่บ้านสวยสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีสำนึก และมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น

๖. ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นคงอยู่สืบไป

๗. ความพึงพอใจให้ของประฃาฃนที่มารับ บริการจาก อบต.และเห็นว่า อบต.สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๒.๕ ค่าเป้าหมาย

๑. พัฒนาปรับปรุง ถนน สะพาน แหล่งน้ำ ประปา ไฟ้ฟา จราจร ฯลฯ

๒. ส่งเสริมอาฃีพ การศึกษา สุขภาพอนามัย การกีฬา นันทนาการ สวัสดิการสังคม ฯลฯ

๓. รักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในฃีวิตและทรัพย์สิน

                        ๔. ส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น                                          

๕. ส่งเสริมให้ชุมชนสามารถรักษาวิถีชีวิตการเกษตรไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีภูมิทัศน์ตามถนนสายหลักของแต่ละหมู่บ้านสวยสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีสำนึก และมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น

๖. ส่งเสริม เผยแพร่ และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๗. สร้างความพึงพอใจให้กับประฃาฃนที่มารับบริการจาก อบต.และเห็นว่า อบต.สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๒.๖ กลยุทธ์การพัฒนา

ยุทธศาสตร์การพัฒนา ๑     ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

                                    กลยุทธ์การพัฒนา              ๑.๑       พัฒนา ปรับปรุงและบำรุงรักษาถนน สะพาน ทางเท้า ฯลฯ

                                                ๑.๒       พัฒนาแหล่งน้ำ  และระบบประปาหมู่บ้าน

                                                            ๑.๓       ขยายเขตบริการไฟฟ้าให้ทั่วถึงพร้อมไฟฟ้าสาธารณะ

๑.๔       พัฒนาระบบจราจร

ยุทธศาสตร์การพัฒนา  ๒    ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมการศึกษา และพัฒนาคุณภาพชีวิต

กลยุทธ์การพัฒนา   ๒.๑         พัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

                                                ๒.๒       พัฒนาการศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบ

๒.๓       ส่งเสริมสุขภาพอนามัย รวมถึงการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด และโรคติดต่อ (เช่นโรคเอดส์  วัณโรค ฯลฯ)

๒.๔       ส่งเสริมกีฬาและนันทนาการทุกระดับ 

๒.๕       ส่งเสริมสวัสดิการสังคม

 

 

 

-22-

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนา   ๓   ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชนสังคมและการรักษาความเรียบร้อย

กลยุทธ์การพัฒนา                   ๓.๑       รักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

๓.๒       จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

๓.๓         ส่งเสริมและให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่และประชาชนในการ

ป้องกันอาชญากรรมและบรรเทาสาธารณภัย

ยุทธศาสตร์การพัฒนา   ๔   ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการวางแผน การส่งเสริมลงทุนพาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว              

กลยุทธ์การพัฒนา                  ๔.๑        ส่งเสริมการผลิต ผัก ผลไม้ปลอดสารพิษเพื่อการบริโภค

๔.๒       พัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนทุกระดับ                                                                                           

๔.๓        พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวทางเลือกหลักทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ควบคู่กับการส่งเสริมตลาดนัด

นักท่องเที่ยว กลุ่มประชาสัมนา-นันทนาการ และสร้างความเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวหลัก(ทะเล ป่า เขา)

ยุทธศาสตร์การพัฒนา   ๕   ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม              

กลยุทธ์การพัฒนา               ๕.๑         สร้างจิตสำนึก และความตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                                                            ๕.๒      บำบัดและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                                                            ๕.๓      บำบัดและจัดการขยะ

                                                                                ๕.๔      พัฒนาภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อมเมืองและแม่น้ำสายหลัก                                                                                   

                                                            ๕.๕     ป้องกันอุทกภัย

ยุทธศาสตร์การพัฒนา   ๖   ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศิลปะ วัฒนธรรมจารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น 

กลยุทธ์การพัฒนา                   ๖.๑ ส่งเสริม  เผยแพร่  และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น                                                             

               ยุทธศาสตร์การพัฒนา   ๗    ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านกระบวนการบริหารจัดการที่ดีในองค์กรและการมีส่วนร่วมของประชาชน

กลยุทธ์การพัฒนา               ๗.๑ พัฒนาการบริหารจัดการที่ดีในองค์กร

                                                            ๗.๒ ปรับปรุงและพัฒนาบุคลากรในองค์กร

                                                ๗.๓ ปรับปรุงและพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติงาน

                                                            ๗.๔ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงาน

                                                             ๗.๕ ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับกิจการท้องถิ่น

                                                

 

 

-23-

 

 

๒.๗ จุดยืนทางยุทธศาสตร์

                        จากประเด็นความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ที่สำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ ๑3  ยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์จังหวัด  จะเห็นได้ว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจนในการนำมาเป็นแนวทางกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ชัดเจนจะเป็นการเตรียมการพัฒนา  เป็นการนำภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ พร้อมทั้งเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในท้องถิ่นให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของชุมชนให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากสภาวการณ์ เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน สังคมเศรษฐกิจภายในชุมชนให้มีคุณภาพ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในชุมชนอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ จึงได้กำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) คือ “เป็นชุมชนแห่งการมีส่วนร่วม อนุรักษ์วิถีชีวิตท้องถิ่น พัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน  มีภูมิคุ้มกันทางสังคมเพื่อให้ชุมชนมีรากฐานที่เข้มแข็ง”

๒.๘ ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม

การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีขององค์การบริหารส่วนตำบลมีความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม  ดังนี้

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล   

 

 


           

 

เป้าประสงค์

ตัวชี้วัด

จุดยืนทางยุทธศาสตร์

กลยุทธ์

ค่าเป้าหมาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 -24-

2.9 การวิเคราะห์สภาวการณ์และศักยภาพ

                วิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสภาพการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุโดยใช้เทคนิค SWOT analysis  ดังนี้        

จุดแข็ง

จุดแข็ง  ( Strengths : S)

๑.ถนนสายหลักได้รับการพัฒนาปรับปรุง ทำให้ได้รับความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง

๒.เขต อบต.ตำหรุ มีที่ตั้งใกล้เคียงกับ จุดรับซื้อสินค้าทางการเกษตร ( สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด )ทำให้ประชาชนที่ทำการเกษตร (พืชไร่-พืชสวน) สามารถขายสินค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

และไม่ต้อง   ขายส่ง  ผ่านพ่อค้าคนกลาง

๓.ชุมชนมีวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

            ๔.เขต อบต.ตำหรุ มีพื้นดินที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ และมีน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภค-บริโภคอย่างเพียงพอ

จุดอ่อน Weaknesses : W )

             ๑. พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ

               ๒. ประชาชนในเขต อบต.ตำหรุ   ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา 

                ๓. อบต.ขาดการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่

           ๔.เยาวชนรุ่นใหม่ไม่ค่อยให้ความสนใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น  ขาดการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

โอกาส  (  Opportunities : O )

๑.รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระ ในการกำหนดนโยบาย การบริหาร การจัดทำแผนพัฒนาการบริหารงานบุคคล การเงิน การคลังและการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ

            ๒. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ส่งเสริมเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่แบบผสมผสาน  เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน  กระตุ้นให้ชุมชนพึ่งตนเอง

                ๓. กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กำหนดเรื่อง  สิทธิเสรีภาพของประชาชนมากขึ้น ซึ่งทำให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองและมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านต่างๆ มากขึ้น

๔.การปฏิรูประบบราชการทำให้เกิดการปรับการบริหารงานภาครัฐแบบเดิมที่เน้นสายการบังคับบัญชาและยึดระเบียบกฎหมายเป็นหลัก มาเป็นการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ที่เน้นผลสัมฤทธิ์ของงานและผู้รับบริการเป็นหลัก

๕.รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ของคนในชาติส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมไทยให้อยู่เป็นสุข เป็นสังคมที่มีสันติสุขอย่างยั่งยืน ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนโดยยัดหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

๖.รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการถ่ายโอนอำนาจมาให้ท้องถิ่นในการบริหารจัดการ

                ๗. อบต. สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหา ให้กับประชาชนในท้องถิ่นได้ตรงกับความต้องการ

 

-25-

 

2.10 ปัญหา อุปสรรคหรือข้อจำกัด  (  Threats : T)

           ๑. สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในระดับประเทศในระดับภูมิภาคส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น

           ๒. มีปัญหาด้านปัจจัยทางการผลิต เช่น ต้นทุนในการทำการเกษตรมีราคาแพง  ไม่คุ้มทุน

           ๓. มีปัญหาสุขภาพ ปัญหายาเสพติด

           ๔. เกิดอุทกภัยเกือบทุกปี ทำให้เกิดน้ำท่วมขังทำให้พืชไร่พืชสวนเสียหาย ผู้ที่ประกอบอาชีพทำการเกษตรประสบกับสภาวะการขาดทุน

            ๕.  ปัญหาความยากจน

2.11 การประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง

            ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีขององค์การบริหารส่วนตำบลนั้น  ได้ทำการประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 

๑.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

        ๑.๑ การคมนาคม  ขาดงบประมาณในการดำเนินงาน  ปัญหาถนน  เส้นทางคมนาคมไม่สะดวก  เนื่องจากเส้นทางที่มีอยู่บางส่วนยังไม่ได้มาตรฐาน เป็นหลุมเป็นบ่อ ความต้องการของประชาชน คือ ปรับปรุงเส้นทางคมนาคมให้สะดวก ปลอดภัย  ให้ครอบคลุมทั่วถึง

        ๑.๒  ไฟฟ้าแสงสว่าง ปัญหาไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะไม่ทั่วถึง ความต้องการของประชาชน คือ เพิ่มไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะให้ครอบคลุมทั่วถึงพื้นที่ภายในตำบลตำหรุ

                         ๑.๓  ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุตามบริเวณทางแยก ทางโค้ง ทางเชื่อม ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ความต้องการของประชาชน คือ จัดทำป้ายบอกการเตือนภัย ป้องกันอุบัติภัย  และจัดทำป้ายบอกเขต  ป้ายประชาสัมพันธ์  ป้ายจราจรและป้ายซอยต่าง ๆ 

                        ๑.๔  ทรัพยากรธรรมชาติยังขาดดูแลเอาใจใส่ ความต้องการของประชาชน คือ อนุรักษ์ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งน้ำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างพอเพียง 

        ๑.๕  การระบายน้ำ การระบายน้ำเป็นไปอย่างล่าช้า เกิดการพังทลายของผิวดิน น้ำกัดเซาะเนื่องจากความรุนแรงของกระแสซึ่งระบายน้ำไม่ทันท่วงที ความต้องการของประชาชน คือ สร้างระบบระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและบริการชุมชนในช่วงฤดูน้ำหลากและฤดูฝน

๒.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมการศึกษา และพัฒนาคุณภาพชีวิต

                     ๒.๑  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กยังขาดการสนับสนุนในบางกิจกรรม ความต้องการของประชาชน คือ ส่งเสริมกิจกรรมการศึกษาของสถานศึกษาในการพัฒนาเด็กนักเรียนให้เป็นคนดีและคนเก่ง และสำนึกในวิถีท้องถิ่น ตามที่อยู่ในขอบเขตอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

๒.๒  ดำเนินงานตามนโยบายถ่ายโอนภารกิจด้านการศึกษาให้ครบถ้วน เช่น โครงการอาหารเสริม(นม) อาหารกลางวัน และปฏิบัติงานร่วมกับสถานศึกษาในด้านกิจกรรมกีฬา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแก้ไขปัญหายาเสพติด

๒.๓  ยังขาดมีส่วนร่วมของชุมชนในบางกิจกรรม ความต้องการของประชาชน คือ สนับสนุนและส่งเสริมให้สตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส มีส่วนร่วมในการบริหารงานกับ อบต. และองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง

        ๒.๔  ประชาชนไม่มีอาชีพเสริม และรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ความต้องการของประชาชน คือ ส่งเสริม พัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มพูนรายได้แก่ประชาชนตำบลตำหรุ

        ๒.๕  ประชาชนยังขาดสนับสนุนการทำการเกษตร ความต้องการของประชาชน คือ สนับสนุนการทำการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและยั่งยืน                                       

        ๒.๖ ผลผลิตทางการเกษตรไม่มีตลาดรองรับที่เพียงพอ ความต้องการของประชาชน คือ  สนับสนุนให้มีตลาดนัดเพื่อวางจำหน่ายสินค้าจากชุมชน

         ๒.๗  ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก  โรคมือเท้าปากเปื่อย ความต้องการของประชาชน คือ  ประสานงานกับโรงพยาบาลชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันโรค และบริการสาธารณสุขแก่ชุมชนอย่างทั่วถึง และสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร

-26-

 

 

๓. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชนสังคมและการรักษาความเรียบร้อย

๓.๑ การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินดีระดับหนึ่งยังไม่ดีเท่าที่ควรขาดการบริหารงานอย่างเป็นระบบ

๓.๒  วัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีจำนวนไม่เพียงพอ

๓.๓ เร่งส่งเสริมและให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่และประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมและบรรเทาสาธารณภัย

๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการวางแผน การส่งเสริมลงทุนพาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว      

            ๔.๑  การจัดการด้านการท่องเที่ยวยังไม่เป็นระบบ ความต้องการของประชาชน คือ ส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของตำบลตำหรุให้เป็นระบบ มีมาตรฐาน

๕. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม              

            ๕.๑  ทรัพยากรทางธรรมชาติขาดการเอาใจใส่ดูแล ความต้องการของประชาชน คือ ปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ

๕.๒  พื้นที่สาธารณะขาดกรเอาใจใส่ดูแล ความต้องการของประชาชน คือ จัดระบบรักษาความสะอาดเรียบร้อยพื้นที่สาธารณะ ถนน ตรอกซอย และไฟฟ้าส่องสว่างในพื้นที่เสี่ยงอันตรายให้เพียงพอ

๕.๓  สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย ความต้องการของประชาชน คือ ส่งเสริมให้ความรู้แก่ประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และใช้พลังงานอย่างประหยัดจำเป็น

๖.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศิลปะ วัฒนธรรมจารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น 

 ๖.๑  วิถีชีวิตชุมชนกำลังจะสูญหายไปกับสังคมเมือง ความต้องการของประชาชน คือ ส่งเสริมวิถีชีวิตของประชาชน และบุคลากรให้มีคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักศาสนา

๗. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านกระบวนการบริหารจัดการที่ดีในองค์กรและการมีส่วนร่วมของประชาชน

          ๗.๑  อบต.ยังขาดอาคารสถานที่ในการให้บริการประชาชน ความต้องการของประชาชน คือ จัดให้มีอาคารสถานที่ให้บริการอย่างเพียงพอ และการปรับปรุงกระบวนการทำงานของบุคลากร อบต.ให้ทันสมัย

                      ๗.2  ประชาชนบางกลุ่มยังมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในเรื่องของการเมือง การปกครอง ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ความต้องการของประชาชน คือ สนับสนุนให้ประชาชนและบุคลากรของ อบต. ได้รับ   

            ความรู้ มีวิถีประชาธิปไตย และยกย่องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่ 3

 

การนำแผนพัฒนาท้องถิ่น

ไปสู่การปฏิบัติ

 

 

 

 

 

 

 

-27-

ส่วนที่ 3  การนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติ

3.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นและยุทธศาสตร์ระดับมหภาคเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

ที่

   ยุทธศาสตร์ชาติ

          20 ปี

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13

SDGs

ยุทธศาสตร์จังหวัด

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

   ของ อปท. ในเขต

          จังหวัด

ยุทธศาสตร์

(อปท.)

กลยุทธ

แผนงาน

หน่วยงานรับผิด

   ชอบหลัก

1

ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

 

 หมุดหมายที่  5  ไทยเป็นประตูการค้า การลงทุนและยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค

 

เป้าหมายที่ 1 ไทยเป็นประตูการค้า การลงทุนในภูมิภาค

ที่  4  การพัฒนาเมืองการค้า การผลิต การบริการ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ

ที่  1   การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

 

1.  ยุทธศาสตร์ การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน    

1.1   พัฒนา  ปรับปรุงและบำรุงรักษาถนน  สะพาน

 ทางเท้า  ฯลฯ

แผนงานอุตสาห-กรรมและการโยธา

 

กองช่าง

1.2   พัฒนาแหล่งน้ำและระบบประปาหมู่บ้าน

 แผนงานอุตสาห-กรรมและการโยธา

 

กองช่าง

1.3  ขยายเขตบริการไฟฟ้าทั่วถึง พร้อมไฟฟ้าสาธารณะ

1.4   ระบบจราจร

 แผนงานอุตสาห-กรรมและการโยธา

 

กองช่าง

2

หมุดหมายที่ 8  ไทยมีพื้น

ที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่าง

ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 3 การพัฒนาเมือง

ให้มีความน่าอยู่อย่างยั่งยืน มี

ความพร้อมในการรับมือและ

ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทุก

รูปแบบเพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่ม

มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างทั่วถึง

ที่  1 การเสริมสร้าง

ความมั่นคง  สันติสุข  และสังคมคุณภาพ ที่ยั่งยืนด้วยหลักปรัฃญา ของเศรษฐกิจพอพียง

ที่  2   การพัฒนาด้าน

การส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี

2.ยุทธศาสตร์การ

พัฒนาด้านการ

ส่งเสริมการศึกษา

และพัฒนาคุณภาพ

ชีวิต

2.1 การพัฒนาและส่งเสริม

อาชีพให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

 แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

สำนักปลัด

3

ที่ 3  ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

หมุดหมายที่ 12  ไทยมี

กำลังคนสมรรถนะสูงมุ่ง

เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายที่ 1. คนไทยได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพในทุก

ช่วงวัย

2. ประชาชนทุกกลุ่มของการ

เรียนรู้ตลอดชีวิต    

1 การเสริมสร้างความมั่นคง  สันติสุข  และสังคมคุณภาพที่ยั่งยืน

ด้วยหลักปรัฃญา ของเศรษฐกิจพอพียง

ที่  2   การพัฒนาด้าน

การส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี

2.การพัฒนาด้านการส่งเสริมการศึกษา

และพัฒนาคุณภาพ

ชีวิต

2.2 ด้านการศึกษาทั้งในและนอกระบบรวมทั้งเพิ่มช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชน

แผนงานการ

ศึกษา

กองการศึกษา

 

 

 

-28-

ที่

   ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13

SDGs

ยุทธศาสตร์จังหวัด

ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท. ในเขตจังหวัด

ยุทธศาสตร์

(อปท.)

กลยุทธ

แผนงาน

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก

4

ที่ 3  ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์  และ 

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการ

สร้างโอกาสและความเสมอ

ภาคทางสังคม

หมุดหมายที่ 9  ไทยมีความ

ยากจนข้ามรุ่นลดลง และ

คนไทยทุกคนมีความคุ้ม

ครองทางสังคมที่เพียงพอเหมาะสม

เป้าหมายที่ 2  คน

ไทยทุกช่วงวัยได้รับ

ความคุ้มครองทาง

สังคมที่เพียงพอ

ต่อการดำรงชีวิต

1 การเสริมสร้างความมั่นคง  สันติสุข  และสังคมคุณภาพ ที่ยั่งยืนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง

ที่  2   การพัฒนา

ด้านการส่งเสริม

คุณภาพ

ชีวิตที่ดี

2.การพัฒนาด้านการส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิต

2.3 ด้านการส่งเสริม

สุขภาพอนามัย รวมถึง

การป้องกันและแก้ไข

ปัญหายาเสพติดและโรคติดต่อ (เช่นโรคเอดส์ 

วัณโรค ฯลฯ)

 แผนงานการศึกษา

กองการศึกษา

 

สำนักปลัด

แผนงานสาธารณสุข

 

แผนงาน  สร้างความเข้มแข็งของชุมชน

 

2.4 ด้านการส่งเสริมกีฬาและนันทนาการทุกระดับ

แผนงาน  การศาสนา วัฒนธรรมและนันทนา-

การ

 

2.5  ด้านการส่งเสริม

สวัสดิการสังคม

แผนงาน งบกลาง

สำนักปลัด

5

ยุทธศาสตร์ที่ 4  ด้านการ

สร้างโอกาสและความเสมอ

ภาคทางสังคม

หมุดหมายที่  8  ไทยมีพื้น

ที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ปลอดภัยเติบโตได้อย่าง

ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 3  การพัฒนาเมืองให้มีความน่าอยู่

อย่างยั่งยืนมีความพร้อม

ในการรับมือและปรับ

ตัวต่อการเปลี่ยนแปลง

ทุกรูปแบบเพื่อให้

ประชาชนทุกกลุ่มมี

คุณภาพชีวิตที่ดีอย่าง

ทั่วถึง

จังหวัดที่  1 การเสริมสร้างความมั่นคง  สันติสุข  และสังคมคุณภาพ ที่ยั่งยืนด้วยหลักปรัฃญา ของเศรษฐกิจพอพียง

 

ที่ 3 การพัฒนาจัดระเบียบชุมชน สังคม

และการรักษาความ

สงบเรียบร้อย

3.การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน  สังคม  และการรักษาความสงบเรียบร้อย

3.1 ด้านการรักษาความ

สงบเรียบร้อยและความ

ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

แผนงานสร้างความเข้ม

แข็งของชุมชน

สำนักปลัด

3.2 ด้านการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย

แผนงานการรักษาความ

สงบภายใน

สำนักปลัด

3.3 ด้านการส่งเสริมให้ความ

รู้แก่เจ้าหน้าที่และ

ประชาชนในการป้อง

กันอาชญากรรมและ

บรรเทาสาธารณภัย    

แผนงานสร้างความเข้ม

แข็งของชุมชน           

สำนักปลัด

6

ยุทธศาสตร์ที่  2  ด้านการ

สร้างความสามารถในการ

แข่งขัน     

หมุดหมายที่  8  ไทยมีพื้น

ที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ปลอดภัยเติบโตได้อย่าง

ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 3  การพัฒนาเมืองให้

มีความน่าอยู่อย่างยั่งยืน มีความพร้อมในการรับมือ

และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบเพื่อให้ประชาชนทุก

กลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่

ดีอย่างทั่วถึง

ที่  4 การพัฒนาเมืองการค้า การผลิต การบริการและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มี

คุณภาพ

ที่ 4 การพัฒนาด้าน

การวางแผนการ

ส่งเสริมการลงทุน

 พาณิชยกรรม

เศรษฐกิจพอเพียง

 และการท่อง

เที่ยว

4.การพัฒนาด้านการ

วางแผนการส่งเสริม

การลงทุน  พาณิชย-

กรรมและการท่อง

เที่ยว        

4.2   ด้านการพัฒนาและ

ส่งเสริมอาชีพให้กับ

ประชาชนทุกระดับ

แผนงานสร้างความ

เข้มแข็งของชุมชน      

สำนักปลัด

ที่

   ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13

SDGs

ยุทธศาสตร์จังหวัด

   ยุทธศาสตร์การ

พัฒนาของ อปท.

   ในเขตจังหวัด

ยุทธศาสตร์

(อปท.)

กลยุทธ

แผนงาน

หน่วยงานรับผิด

ชอบหลัก

7

ที่ 5  ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หมุดหมายที่ 11  ไทยสามารถลดความเสี่ยง

และผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพ

ภูมิอากาศ

 

เป้าหมายที่ 3  สังคมไทยมีภูมิคุ้ม

กันจากภัยธรรมชาติ

และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ที่  2  การบริหารจัด

การทรัพยากรธรรม

ชาติและสิ่งแวดล้อม

อย่างสมดุลและยั่งยืน

 5. การพัฒนาด้าน

การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากร

ธรรมชาติและสิ่ง

แวดล้อม

 5  การพัฒนาด้าน

การบริหารจัดการ

และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม

5.1    ด้านการสร้างจิตสำนึกและความ

ตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1)แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

สำนักปลัด

5.2 ด้านการบำบัดฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

แผนงานสร้างความเข้ม

แข็งของชุมชน

สำนักปลัด

8

ที่ 5  ด้านการสร้างความ

เติบโตบนคุณภาพชีวิตที่

เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

หมุดหมายที่ 8  ไทยมีพื้

นที่และเมืองอัจฉริยะ

ที่น่าอยู่ ปลอดภัย

เติบโตได้อย่างยั่งยืน

เป้าหมายที่ ที่ 3  การพัฒนาเมืองให้มีความน่าอยู่อย่างยั่งยืน มีความพร้อมในการรับมือ

และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทุกรูป

แบบเพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มมีคุณภาพชีวิต

ที่ดีอย่างทั่วถึง

ที่ 2 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

5. การพัฒนาด้าน

การบริหารจัดการ

และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม

5 การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากร

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5.3 ด้านการบำบัดและ

จัดการขยะ

แผนงานสร้างความ

เข้มแข็งให้ชุมชน

สำนักปลัด

9

ที่ 5 ด้านการสร้างความเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

หมุดหมายที่ 8  ไทยมี

พื้นที่และเมืองอัจฉริยะ

ที่น่าอยู่ ปลอดภัย

เติบโตได้อย่างยั่งยืน

เป้าหมายที่ 2  การอนุรักษ์ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

อย่างยั่งยืน

ที่  2  การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

5.  การพัฒนาด้าน

การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่ง

แวดล้อม

5.การพัฒนาด้านการ

บริหารจัดการและ

อนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม

5.4 ด้านการพัฒนา

ภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อมเมือง

และแม่น้ำสายหลัก

แผนงานสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

สำนักปลัด

10

ที่ 1  ด้านความมั่นคง

หมุดหมายที่ 11  ไทยสามารถลดความเสี่ยง

และผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพ

ภูมิอากาศ

เป้าหมายที่ 3   สังคมไทยมีภูมิคุ้มกันจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  2  การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

5.   การพัฒนาด้าน

การบริหารจัดการ

และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม

5. การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและ

อนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่ง

แวดล้อม

5.5 ด้านการป้องกัน

อุทกภัย

แผนงานสร้างความ

เข้มแข็งให้ชุมชน

สำนักปลัด

11

ที่ 2   ด้านการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

หมุดหมายที่ 2   ไทยเป็นจุด

หมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน

เป้าหมายที่ 2  การ

ปรับโครงสร้างการท่องเที่ยวให้พึ่งพานักท่องเที่ยวและมี

การกระจายโอกาส

ทางเศรษฐกิจมากขึ้น

1 การเสริมสร้างความมั่นคง  สันติสุข  และสังคมคุณภาพ ที่ยั่งยืนด้วยหลักปรัฃญา ของเศรษฐกิจพอพียง

 6. การพัฒนาด้านศิลปะวัฒนธรรม

 จารีตประเพณีและ

ภูมมิปัญญาท้องถิ่น

6.การพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

6.1 ด้านการส่งเสริม เผยแพร่และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม  จารีตประเพณีและ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

แผนงานการศาสนา วัฒนธรรมและ

นันทนาการ

กองการศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             

ที่

   ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13

SDGs

ยุทธศาสตร์จังหวัด

   ยุทธศาสตร์การ

  พัฒนาของ อปท.

    ในเขตจังหวัด

ยุทธศาสตร์

(อปท.)

กลยุทธ

แผนงาน

หน่วยงานรับผิดชอบ

หลัก

12

ที่ 6  ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

 

หมุดหมายที่ 13   ไทยมีภาค

รัฐที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพ

และตอบโจทย์ประชาชน

เป้าหมายที่ 1  การบริการภาครัฐ มีคุณภาพเข้าถึงได้

1 การเสริมสร้างความมั่นคง  สันติสุข  และสังคมคุณภาพ ที่ยั่งยืนด้วยหลักปรัฃญา ของเศรษฐกิจพอพียง

 7. การพัฒนากระบวนการบริหารจัดการที่ดีในองค์กร

และการมีส่วนร่วม

ของประชาชน

7. การพัฒนาด้านการ

พัฒนากระบวนการบริหารจัดการที่ดีในองค์กร  และการมี

ส่วนร่วมของประชาชน

7.1 ด้านการบริหาร

จัดการที่ดีภายในองค์กร

แผนงานบริหารทั่วไป

สำนักปลัด

กองคลัง

กองช่าง

กองการศึกษา

13

ที่ 6  ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัด

การภาครัฐ

หมายที่ 13   ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพและ

ตอบโจทย์ประชาชน

เป้าหมายที่ 2  ภาค

รัฐมีขีดสมรรถนะสูงคล่องตัว

1 การเสริมสร้างความมั่นคง  สันติสุข  และสังคมคุณภาพ ที่ยั่งยืนด้วยหลักปรัฃญา ของเศรษฐกิจพอพียง

7.การพัฒนากระบวน

การบริหารจัดการ

ที่ดีในองค์กรและ

การ มีส่วนร่วม

ของประชาชน

7. การพัฒนาด้านการ

พัฒนากระบวนการบริหารจัดการที่ดีในองค์กร และการมี

ส่วนร่วมของ

ประชาชน

7.2 ด้านการปรับปรุง

และพัฒนาบุคลากร

ในองค์กร

แผนงานบริหารทั่วไป

สำนักปลัด

7.3 ด้านการปรับปรุง

และพัฒนาเครื่องมือ

เครื่องใช้และสถานที่ปฎิบัติงาน

แผนงานอุตสาหกรรม

และการโยธา

สำนักปลัด

กองคลัง

กองช่าง

กองการศึกษา

7.4 ด้านส่งเสริมการมี

ส่วนร่วมของประชาชน

ในการบริหารงานท้องถิ่น

แผนงานสร้างความ

เข้มแข็งของชุมชน

สำนักปลัด

กองคลัง

กองช่าง

กองการศึกษา

7.5 ด้านการส่งเสริม

ความรู้  เกี่ยวกับกิจการ

ท้องถิ่น

แผนงานบริหารทั่วไป

สำนักปลัด

กองคลัง

กองช่าง

กองการศึกษา

7.6 ด้านการปรับปรุง

และพัฒนารายได้

แผนงานบริหารทั่วไป

กองคลัง

รวม

5

7

3

3

7

7

24

8

 

                                                                                                               -30-

 

 

                 

 

-31-

 

3.2 บัญชีโครงการพัฒนาท้องถิ่น

บัญชีสรุปโครงการพัฒนา

แผนพัฒนาท้องถิ่น   (พ.ศ. 2566 – 2570)   องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ

 

ยุทธศาสตร์

ปี 2566

ปี 2567

ปี 2568

ปี 2569

ปี 2570

รวม  5  ปี

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

1. ยุทธศาสตร์พัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

1.1 กลยุทธ พัฒนา ปรับปรุงและบำรุงรักษาถนน สะพาน ทางเท้า ฯลฯ

(1) แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา

 

 

 

 

15

 

 

 

3,276,300

 

 

 

15

 

 

 

8,201,550

 

 

 

8

 

 

 

7,949,960

 

 

 

3

 

 

 

1,212,000

 

 

 

2

 

 

 

2,778,000

 

 

 

43

 

 

 

23,417,810

โครงการเกินศักยภาพ

1

8,100,000

2

7,760,000

2

8,000,000

-

-

-

-

5

23,860,000

1.2 กลยุทธ พัฒนาแหล่งน้ำ และระบบประปาหมู่บ้าน

(1) แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา

 

 

 

3

 

 

1,379,800

 

 

5

 

 

4569800

 

 

4

 

 

4029800

 

 

2

 

 

929800

 

 

3

 

 

1929800

 

 

17

 

 

12,839,000

โครงการเกินศักยภาพ

1

5,000,000

1

54,000,000

2

117,000,000

2

83,025,000

2

234,000,000

8

493,025,000

1.3 กลยุทธ  ขยายเขตบริหารไฟฟ้าให้ทั่วถึงพร้อมไฟฟ้าสาธารณะ

(1) แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา

 

 

2

 

 

400,000

 

 

1

 

 

100,000

 

 

1

 

 

100,000

 

 

2

 

 

500,000

 

 

1

 

 

100,000

 

 

7

 

 

1,200,000

1.4  กลยุทธ พัฒนาระบบจราจร

(1) แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา

 

-

 

-

 

1

 

50,000

 

1

 

50,000

 

1

 

50,000

 

-

 

-

 

3

 

150,000

 

รวม

 

20

 

5,056,100

 

22

 

12,921,350

 

14

 

12,129,760

 

8

 

2,691,800

 

6

 

4,807,800

 

74

 

37,606,810

รวมโครงการเกินศักยภาพ

2

13,100,000

3

61,760,000

4

125,000,000

2

83,025,000

2

234,000,000

13

516,885,000

 

 

 

 

 -32-

 

 

ยุทธศาสตร์

ปี 2566

ปี 2567

ปี 2568

ปี 2569

ปี 2570

รวม  5  ปี

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิต

2.1 กลยุทธ พัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

(1) แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

 

 

 

5

 

 

 

585,000

 

 

 

4

 

 

 

215,000

 

 

 

4

 

 

 

215,000

 

 

 

8

 

 

 

3,410,393

 

 

 

4

 

 

 

215,000

 

 

 

25

 

 

 

4,640,393

2.2 กลยุทธ พัฒนาการศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบ    

 (1) แผนงานการศึกษา

 

8

 

1,166,500

 

8

 

263,000

 

7

 

63,000

 

8

 

93,000

 

8

 

69,000

 

39

 

1,654,500

2.3 กลยุทธ  ส่งเสริมสุขภาพอนามัย รวมถึงการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดและโรคติดต่อ (เช่น โรคเอดส์  วัณโรค ฯลฯ)

(1) แผนงานการศึกษา

(2) แผนงานสาธารณสุข

(3)  แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

 

 

 

3

2

3

 

 

 

1,006,000

85,000

79,000

 

 

 

3

2

3

 

 

 

760,000

105,000

203,320

 

 

 

3

2

3

 

 

 

760,000

105,000

79,000

 

 

 

3

2

3

 

 

 

760,000

105,000

179,000

 

 

 

3

2

3

 

 

 

760,000

105,000

179,000

 

 

 

15

10

15

 

 

 

4,046,000

505,000

719,320

2.4 กลยุทธ ส่งเสริมกีฬาและนันทนาการทุกระดับ

(1) แผนงานการศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ

 

 

3

 

 

635,900

 

 

2

 

 

390,000

 

 

2

 

 

190,000

 

 

1

 

 

90,000

 

 

 

1

 

 

90,000

 

 

 

9

 

 

1,395,900

2.5 กลยุทธ ส่งเสริมสวัสดิการสังคม

(1) แผนงานงบกลาง

 

4

 

1,214,000

 

4

 

1,214,000

 

4

 

1,214,000

 

4

 

1,214,000

 

4

 

1,214,000

 

20

 

6,070,000

 

รวม  (ไม่รวมงบกลาง)

 

24

 

 

3,557,400

 

22

 

1,936,320

 

21

 

1,412,000

 

25

 

4,637,393

 

21

 

1,418,000

 

113

 

12,961,113

 

 -33-

 

 

ยุทธศาสตร์

ปี 2566

ปี 2567

ปี 2568

ปี 2569

ปี 2570

รวม  5  ปี

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย

3.1 กลยุทธ รักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

(1) แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

 

 

 

 

 

 

2

 

 

 

 

 

 

80,000

 

 

 

 

 

 

3

 

 

 

 

 

 

300,000

 

 

 

 

 

 

2

 

 

 

 

 

 

100,000

 

 

 

 

 

 

1

 

 

 

 

 

 

50,000

 

 

 

 

 

 

3

 

 

 

 

 

 

2,170,000

 

 

 

 

 

 

11

 

 

 

 

 

 

 

2,7000000

3.2 กลยุทธ จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

(1) แผนงานการรักษาความสงบภายใน

 

 

2

 

 

130,000

 

 

2

 

 

130,000

 

 

2

 

 

130,000

 

 

3

 

 

180,000

 

 

2

 

 

130,000

 

 

11

 

 

700,000

3.3 กลยุทธ ส่งเสริมและให้ความรู้แก่เจ้าหน้า ที่และประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมและบรรเทาสาธารณภัย

(1) แผนงาน สร้างความเข้มแข็งของชุมชน

 

 

 

 

1

 

 

 

 

82,000

 

 

 

 

1

 

 

 

 

82,000

 

 

 

 

1

 

 

 

 

82,000

 

 

 

 

2

 

 

 

 

282,000

 

 

 

 

1

 

 

 

 

82,000

 

 

 

 

6

 

 

 

 

610,000

รวม

5

292,000

6

512,000

5

312,000

6

512,000

6

2,382,000

28

4,010,000

4)  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการวางแผนการส่งเสริมการการลงทุนพาณิชย-

กรรมและการท่องเที่ยว

4.1 กลยุทธ พัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนทุกระดับ

(1) แผนงาน  สร้างความเข้มแข็งของชุมชน

 

 

 

 

 

 

-

 

 

 

 

 

 

-

 

 

 

 

 

 

-

 

 

 

 

 

 

-

 

 

 

 

 

 

-

 

 

 

 

 

 

-

 

 

 

 

 

 

-

 

 

 

 

 

 

-

 

 

 

 

 

 

1

 

 

 

 

 

 

100,000

 

 

 

 

 

 

1

 

 

 

 

 

 

100,000

รวม

-

-

-

-

-

-

-

-

1

100,000

1

100,000

 

 

-34-

แบบ  ผ.01

 

 

ยุทธศาสตร์

ปี 2566

ปี 2567

ปี 2568

ปี 2569

ปี 2570

รวม 5 ปี

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

 5) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5.1  กลยุทธ สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(1) แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

 

 

 

 

 

 

1

 

 

 

 

 

 

18,000

 

 

 

 

 

 

1

 

 

 

 

 

 

18,000

 

 

 

 

 

 

1

 

 

 

 

 

 

18,000

 

 

 

 

 

 

1

 

 

 

 

 

 

18,000

 

 

 

 

 

 

1

 

 

 

 

 

 

18,000

 

 

 

 

 

 

5

 

 

 

 

 

 

90,000

5.2 กลยุทธ  บำบัดและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(1) แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

 

 

-

 

 

-

 

 

-

 

 

-

 

 

-

 

 

-

 

 

1

 

 

100,000

 

 

-

 

 

-

 

 

1

 

 

100,000

5.3  กลยุทธ บำบัดและกำจัดขยะ

(1) แผนงาน สร้างความเข้มแข็งของชุมชน

 

3

 

80,000

 

3

 

90,000

 

3

 

90,000

 

3

 

90,000

 

3

 

90,000

 

15

 

440,000

5.4  กลยุทธ พัฒนาภูมิทัศน์ สิ่งแวดล้อมเมืองและแม่น้ำสายหลัก

(1) แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

 

 

3

 

 

42,000

 

 

3

 

 

42,000

 

 

4

 

 

542,000

 

 

3

 

 

42,000

 

 

3

 

 

42,000

 

 

16

 

 

710000

5.5  กลยุทธ ป้องกันอุทกภัย

(1)  แผนงานการศาสนา

 

1

 

100,000

 

1

 

100,000

 

1

 

100,000

 

1

 

100,000

 

1

 

100,000

 

5

 

500,000

รวม

8

240,000

8

250,000

9

750,000

9

350,000

8

250,000

42

1,840,000

6 ) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

6.1   กลยุทธ ส่งเสริม  เผยแพร่ และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จารีต  ฯ

(1) แผนงาน  การศาสนา

 

 

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

385,000

 

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

405,000

 

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

405,000

 

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

405,000

 

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

405,000

 

 

 

 

 

30

 

 

 

 

 

2,005,000

รวม

 

6

385,000

6

405,000

6

405,000

6

405,000

6

405,000

30

2,005,000

                                                                     

                                                                                        -35-                                                                                 แบบ  ผ.01

 

 

 

ยุทธศาสตร์

ปี 2566

ปี 2567

ปี 2568

ปี 2569

ปี 2570

รวม 5 ปี

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

7) ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านกระบวนการบริหารจัดการที่ดีในองค์กรและการมีส่วนร่วมของประชาชน

7.1  กลยุทธ พัฒนาการบริหารจัดการที่ดีในองค์กร

(1) แผนงานบริหารทั่วไป

 

 

 

 

 

4

 

 

 

 

 

105,000

 

 

 

 

 

4

 

 

 

 

 

105,000

 

 

 

 

 

4

 

 

 

 

 

105,000

 

 

 

 

 

4

 

 

 

 

 

105,000

 

 

 

 

 

4

 

 

 

 

 

105,000

 

 

 

 

 

20

 

 

 

 

 

525,000

7.2  กลยุทธ ปรับปรุงและพัฒนาบุคลากรในองค์กร

(1) แผนงานบริหารทั่วไป

 

 

4

 

 

780,000

 

 

4

 

 

780,000

 

 

4

 

 

780,000

 

 

4

 

 

780,000

 

 

4

 

 

780,000

 

 

20

3,900,000

7.3  กลยุทธ ปรับปรุงและพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติงาน

(1) แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา

 

 

4

 

 

758,000

 

 

7

 

 

2,080,000

 

 

3

 

 

420,000

 

 

3

 

 

420,000

 

 

5

 

 

820,000

 

 

22

4,498,000

7.4 กลยุทธ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงาน

(1) แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

 

 

1

 

 

-

 

 

1

 

 

-

 

 

1

 

 

-

 

 

2

 

 

250,000

 

 

1

 

 

-

 

 

6

250,000

7.5  กลยุทธ ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับกิจการท้องถิ่น

(1) แผนงานบริหารทั่วไป

 

 

2

 

 

63,000

 

 

2

 

 

63,000

 

 

2

 

 

63,000

 

 

2

 

 

63,000

 

 

2

 

 

63,000

 

 

10

315,000

7.6 กลยุทธ ปรับปรุงและพัฒนารายได้

(1) แผนงานบริหารทั่วไป

 

1

 

200,000

 

1

 

100,000

 

1

 

100,000

 

1

 

100,000

 

1

 

100,000

 

5

600,000

รวม

16

1,906,000

19

3,128,000

15

1,468,000

16

1,718,000

17

1,868,000

83

10,088,000

 

รวมทั้งสิ้น(ไม่รวมงบกลาง)

 

 

79

 

 

11,436,500

 

 

83

 

 

19,152,670

 

 

70

 

 

16,476,760

 

 

70

 

 

10,314,193

 

 

65

 

 

11,230,800

 

 

637

 

 

68,610,923

 

 

 

-36-

แบบ ผ.01/1

บัญชีสรุปโครงการพัฒนาที่

นำมาจากแผนพัฒนาหมู่บ้าน  ของ  องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ

 

หมู่บ้าน

ปี 2566

ปี 2567

ปี 2568

ปี 2569

ปี 2570

รวม  5  ปี

 

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

จำนวนโครงการ

งบประมาณ(บาท)

หมู่ที่ 1

บ้านศาลาเขื่อน

21

15,467,750

5

3,908,000

4

1,867,160

3

2,093,000

4

154,138,000

37

177,473,910

หมู่ที่ 2 บ้านระหารน้อย

13

3,971,700

23

3,011,800

5

2,350,000

3

550,000

12

2,915,000

56

12,798,500

หมู่ที่ 3

บ้านตำหรุใน

3

721,400

5

7,043,000

16

3,642,000

10

81,895,000

2

163,665,000

36

256,966,400

หมู่ที่ 4

 บ้านตำหรุ

-

-

2

54,000,000

11

64,433,000

16

1,212,000

-

-

29

119,645,000

หมุ่ที่ 5

บ้านละหานใหญ่

5

3,405,900

12

3,173,200

3

5,229,800

4

1,129,800

16

1,960,000

40

14,898,700

หมู่ที่ 6

 บ้านท่ามะเกลือ

11

1,815,000

3

2,004,000

3

58,350,000

-

-

-

-

17

62,169,000

รวมทั้งหมด

53

25,381,750

50

73,140,000

42

135,871,960

36

86,879,800

34

322,678,000

215

643,951,510

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ในเอกเซล

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่ 4

การติดตามและประเมินผล

 

 

 

 

 

-78-

 

การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น

 

                              องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ  ได้กำหนดแนวทางการพิจารณาการติดตามและประเมินแผนพัฒนาท้องถิ่น ตามแนวทางดังต่อไปนี้

1.   แนวทางการให้คะแนนการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์เพื่อความสอดคล้องกับแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ตามรูปแบบดังนี้

ประเด็นการพิจารณา

รายละเอียดหลักเกณฑ์

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

๑. ข้อมูลสภาพทั่วไป และข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ควรประกอบด้วยข้อมูลดังนี้

 ๑)  ข้อมูลเกี่ยวกับด้านกายภาพ เช่น ที่ตั้งของหมู่บ้าน/ ชุมชน/ตำบล ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะของดิน ลักษณะของแหล่งน้ำ ลักษณะของไม้/ ป่าไม้ ฯลฯ

๒) ข้อมูลเกี่ยวกับด้านการเมือง/การปกครอง เช่น เขตการปกครอง การเลือกตั้ง ฯลฯ ประชากร เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร และช่วงอายุ และจำนวนประชากร ฯลฯ

20

 

(5)

 

 

๓) ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทางสังคม เช่น การศึกษา สาธารณสุข อาชญากรรม ยาเสพติด  ฯลฯ

4) ข้อมูลเกี่ยวกับศาสนา ประเพณี วัฒนธรรมเช่น การนับถือศาสนา ประเพณีและงานประจำปี

ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ภาษาถิ่น สินค้าพื้นเมือง และของที่ระลึก ฯลฯ

(5)

 

5) ข้อมูลเกี่ยวกับระบบบริการพื้นฐาน เช่น การ คมนาคมขนส่ง การไฟฟ้า การประปา ฯลฯ

6) ข้อมูลเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ เช่น การเกษตร การประมง การปศุสัตว์ การบริการ การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม การพาณิชย์/กลุ่มอาชีพ แรงงาน ฯลฯ

(5)

 

๗)  ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำ ป่าไม้ ภูเขา คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ

๘) การสำรวจและจัดเก็บข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นหรือการใช้ข้อมูล จปฐ.  ข้อมูลการมีส่วนร่วมของปะชาชนหรือการประชุมประชาคมท้องถิ่น รูปแบบ วิธีการ และ การดำเนิน การประชุมประชาคมท้องถิ่น โดยใช้ กระบวนการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ร่วมตรวจสอบ ร่วมรับประโยชน์ ร่วมแก้ปัญหา ปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อแก้ไขปัญหา สำหรับการพัฒนาท้องถิ่นตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(5)

 

 

-79-

 

ประเด็นการพิจารณา

รายละเอียดหลักเกณฑ์

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

๒. การวิเคราะห์ สภาวการณ์และศักยภาพ

ควรประกอบด้วยข้อมูลดังนี้  

(๑) การวิเคราะห์ที่ครอบคลุมความเชื่อมโยง ความสอดคล้อง ยุทธศาสตร์จังหวัด ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น รวมถึงความเชื่อมโยง แผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ   SDGs (Bottom-up/Top-down)

2) การวิเคราะห์ทางสังคม เช่น ด้านแรงงาน การศึกษา สาธารณสุข ความยากจน อาชญากรรม ปัญหายาเสพติด เทคโนโลยี จารีตประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น

20

(5)

 

3) การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม พื้นที่สีเขียว ธรรมชาติต่างๆ ทาง ภูมิศาสตร์ กระบวนการหรือสิ่งที่เกิดขึ้น การประดิษฐ์ที่มีผลต่อ สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา

๔) การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ ข้อมูลรายได้ครัวเรือน การส่งเสริมอาชีพ กลุ่มอาชีพ กลุ่มทางสังคม การพัฒนาอาชีพและ กลุ่มต่างๆ สภาพทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ทั่วไป เป็นต้น

(5)

 

 3) การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม พื้นที่สีเขียว ธรรมชาติต่างๆ ทาง ภูมิศาสตร์ กระบวนการหรือสิ่งที่เกิดขึ้น การประดิษฐ์ที่มีผลต่อ สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา

๔) การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ ข้อมูลรายได้ครัวเรือน การส่งเสริมอาชีพ กลุ่มอาชีพ กลุ่มทางสังคม การพัฒนาอาชีพและ กลุ่มต่างๆ สภาพทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ทั่วไป เป็นต้น

(5)

 

 5) ผลการวิเคราะห์หรือผลการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบันและอนาคต  ทิศทางแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นหรือผลที่เกิดขึ้นในการพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเทคนิค   Demamd   ( Demamd Analysis)  / Global  Demamd   และ Trend  Analysis  หรืออื่นๆ

 

(5)

 

 

 

-80-

 

ประเด็นการพิจารณา

รายละเอียดหลักเกณฑ์

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

3. ยุทธศาสตร์   3.1 ยุทธศาสตร์

ชาติ ๒๐ ปี    (พ.ศ.2561-2580)

การกำหนดและการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี  และประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น       

60

(5)

 

๓.๒ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ   ฉบับที่ 12 หรือ 13

การกำหนดและการวิเคราะห์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ   ที่สอดคล้อง กับยุการพัฒนาท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามประเด็นยุทธศาสตร์หรือหมุดหมาย  และประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น       

(5)

 

3.3 เป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs

การกำหนดและการวิเคราะห์เป้าหมาย/เป้าประสงค์ SDGs  ที่สอดคล้อง กับการพัฒนาท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามตามเป้าหมาย/เป้าประสงค์ SDGsและประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น       

(5)

 

3.4  ยุทธศาสตร์จังหวัด

การกำหนดและวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสอดคล้องหรือเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์จังหวัด

(5)

 

3.5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด

การกำหนดและวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสอดคล้องหรือเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดที่จัดทำขึ้นแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดที่สอดคล้องหรือเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาจังหวัด

(5)

 

3 .6 ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น

การกำหนดและการวิเคราะห์สอดคล้องกับสภาพทั่วไป และข้อมูลพื้นฐาน สภาพสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมของ ท้องถิ่น ประเด็นปัญหาการพัฒนาและแนวทางการพัฒนา ที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่จริงและเป็นไปตามหน้าที่และ อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการกำหนด ยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้

(5)

 

3.7  วิสัยทัศน์

การกำหนดและการวิเคราะห์วิสัยทัศน์ ซึ่งมีลักษณะ แสดงสถานภาพที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการ จะเป็นหรือบรรลุถึงอนาคตอย่างชัดเจน สอดคล้องกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และศักยภาพที่เป็น ลักษณะเฉพาะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แสดง ให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับโครงการพัฒนาท้องถิ่น

(5)

 

-81-

ประเด็นการพิจารณา

รายละเอียดหลักเกณฑ์

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

3.8  กลยุทธ

การกำหนดและการวิเคราะห์แสดงให้เห็นช่องทาง วิธีการ ภารกิจหรือสิ่งที่ต้องทำตามหน้าที่และอำนาจ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะนำไปสู่การบรรลุ วิสัยทัศน์ หรือแสดงให้เห็นถึงความชัดเจนในสิ่งที่จะ ดำเนินการให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น จากประเด็นคำถามที่ สำคัญว่า ปัจจุบันเรายืนอยู่ ณ จุดใด หรือปัจจุบันเรากำลังทำอะไรอยู่แล้วในอนาคตเราจะพัฒนาอะไร

(5)

 

3.9 เป้าประสงค์ของ แต่ละประเด็นกลยุทธ์

การกำหนดและการวิเคราะห์เป้าประสงค์ของแต่ละประเด็นกลยุทธ์มีความสอดคล้องและสนับสนุนต่อกลยุทธ์และยุทธศาสตร์ที่จะเกิดขึ้น มุ่งหมายสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ชัดเจน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี เป้าประสงค์ใด จะทำสิ่งใด เป้าหมายการพัฒนาท้องถิ่นคืออะไร

(5)

 

3.10 จุดยืนทางยุทธศาสตร์ Positioning)

การกำหนดและการวิเคราะห์จุดยืนขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่มีความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ในการวางแผน พัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากศักยภาพของพื้นที่จริง ที่จะนำไปสู่ผลสำเร็จทางยุทธศาสตร์สิ่งที่เป็นจริงหรือ มีอยู่จริงคืออะไรที่จะพัฒนาให้เกิดผลสำเร็จได้

(5)

 

3.11 แผนงาน

การกำหนดและการวิเคราะห์แสดงให้เห็นถึงการจำแนก แผนงานตามรูปแบบงบประมาณขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เป็นการวางแผนงานตามวิธีการจำแนก แผนงานการจัดทำงบประมาณให้ถูกต้องและสอดคล้อง กับโครงการพัฒนาท้องถิ่นที่จะเกิดขึ้นซึ่งสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ แผนงานจะแสดงให้เห็นว่า จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาในอนาคตคืออะไร งานของเราคืออะไร ถูกต้องตามแผนงานหรือไม่

(5)

 

3.12 ความเชื่อมโยง ของ

ยุทธศาสตร์ ในภาพรวม

 การกำหนดและการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงองค์รวมที่นำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่มาจากยุทธศาสตร์ทุกระดับ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 หรือ ฉบับที่ 13 SDGs แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่ม จังหวัด/แผนพัฒนาภาค ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดและยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกันอย่างไรเพื่อให้การพัฒนาท้องถิ่นสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับมหภาค

(5)

 

รวมคะแนน

20 หลักเกณฑ์/ตัวชี้วัด

100

 

 

-82-

    2.  การติดตามและประเมินผลโครงการเพื่อความสอดคล้องแผนพัฒนาท้องถิ่น

                   การติดตามและประเมินผลโครงการเพื่อความสอดคล้องแผนพัฒนาท้องถิ่นเป็นการให้คะแนน ของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อตรวจ สอบความสอดคล้องของแผนพัฒนาท้องถิ่น กับการนำไปจัดทำงบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประจำปีงบประมาณนั้น ๆ เป็นการให้ คะแนนตามแบบที่กระทรวง มหาดไทยได้กำหนดไว้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันหรือภายในเดือนธันวาคมแล้วแต่กรณีนับแต่วันที่ประกาศใช้ งบประมาณรายจ่ายประจำปี (ดำเนินการเฉพาะเมื่อมีการประกาศใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีเท่านั้น) มีรายละเอียดประกอบด้วย ประเด็นที่ต้องพิจารณา ตามรูปแบบดังนี้

ประเด็นการพิจารณา

รายละเอียดหลักเกณฑ์

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

1. การสรุปสถานการณ์ การพัฒนา

 

1) การวิเคราะห์หรือผลการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาที่ประชาชนต้องการให้ดำเนินการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตอบสนอง ความต้องการได้โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเทคนิค Demand (Demand Analysis)/Global Demand หรืออื่น ๆเป็นการวิเคราะห์โครงการเพื่อสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

10

 

(5)

 

 2) การวิเคราะห์หรือผลการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบันและอนาคต ทิศทาง แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นหรือผลที่จะเกิดขึ้นในการพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเทคนิค Trend หรือนำเทคนิค Demand (Demand Analysis)/Global Demand หรืออื่น ๆ มาเชื่อมต่อเป็นการวิเคราะห์ โครงการเพื่อสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(5)

 

2. การประเมินผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติในเชิงปริมาณ

1) การกำหนดและการวิเคราะห์การควบคุมที่มีการใช้ ตัวเลขต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้วัดผลในเชิงปริมาณ เช่น การวัดจำนวนโครงการ กิจกรรม ครุภัณฑ์ วัสดุ งาน ต่าง ๆ ก็คือผลผลิตเป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ หรือไม่ จำนวนที่ดำเนินการจริงตามที่ได้กำหนดไว้ จำนวนที่ไม่สามารถดำเนินการได้สามารถอธิบายได้ ตามหลักประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการพัฒนาท้องถิ่นตามหน้าที่และอำนาจที่ได้กำหนดไว้

10

(5)

 

 2) การกำหนดและการวิเคราะห์ผลกระทบ/สิ่งที่กระทบ (Impact) โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่ดำเนินการในเชิงปริมาณ (Quantitative) ที่เกิดจาก (1) ได้มีการ วิเคราะห์ในเชิงปริมาณด้วยรูปแบบของข้อมูลต่าง ๆ เช่น กราฟ สถิติ เป็นต้น

(5)

 

 

-83-

 

ประเด็นการพิจารณา

รายละเอียดหลักเกณฑ์

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

3. การประเมินผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติในเชิงคุณภาพ

 

 

1) การกำหนดและการวิเคราะห์การประเมินประสิทธิผลของแผนพัฒนาในเชิงคุณภาพคือการนำเอาเทคนิคต่าง ๆ มาใช้เพื่อวัดว่าภารกิจ โครงการ กิจกรรม ครุภัณฑ์ วัสดุ งานต่าง ๆ ที่ดำเนินการในพื้นที่ ตรงต่อความต้องการของประชาชน และเป็นไปตามหน้าที่และอำนาจ ประชาชนพึงพอใจ มีความสุขจากการพัฒนาท้องถิ่น โครงการพัฒนา ครุภัณฑ์วัสดุการดำเนินการต่าง ๆ มีสภาพหรือลักษณะถูกต้อง คงทน ถาวร สามารถใช้การได้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ซึ่งเป็นไปตามหลักประสิทธิผล (Effectiveness) ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของ แผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมา ดำเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นได้และเป็นไปหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

10

(5)

 

2) การกำหนดและการวิเคราะห์วิเคราะห์ผลกระทบ/สิ่งที่กระทบ (Impact) โครงการที่ดำเนินการในเชิงคุณภาพ (Qualitative) ที่เกิดจากได้มีการวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพ การวัดความพึงพอใจหรือวัดความสุขที่ประชาชนได้รับด้วยรูปแบบของข้อมูลต่าง ๆ เช่น กราฟ สถิติ เป็นต้น

(5)

 

4. ยุทธศาสตร์กลยุทธ์ แผนงานการพัฒนา

 

1) การกำหนดและการวิเคราะห์กลยุทธ์ที่สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ แผนงาน และงานที่จะพัฒนาท้องถิ่นซึ่งผ่านการวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นด้วยเทคนิคการ วิเคราะห์ Demand (Demand Analysis) / Global Demand/Trend หลักการบูรณาการ (Integration) หรืออื่น ๆ โดยนำไปจัดทำเป็นรูปโครงการพัฒนาท้องถิ่นที่เป็นรูปธรรม

10

(5)

 

 2) การกำหนดและการวิเคราะห์กลยุทธ์สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น นำไปสู่การจัดทำโครงการ กิจกรรม ครุภัณฑ์ วัสดุในการจัดทำบริการสาธารณะหรือกิจกรรมสาธารณะที่เป็นรูปธรรม

(5)

 

 

 

 

-84-

ประเด็นการพิจารณา

รายละเอียดหลักเกณฑ์

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

5. โครงการพัฒนาตาม แผนพัฒนาท้องถิ่น

5.1 ความชัดเจนของชื่อโครงการ

ควรประกอบด้วยข้อมูลดังนี้

1) “โครงการพัฒนา” หมายความว่าโครงการที่ดำเนินการ จัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อให้การ พัฒนาบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้

 2) โครงการพัฒนาท้องถิ่นมีวัตถุประสงค์สนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และดำเนินการเพื่อให้การพัฒนาบรรลุตามวิสัยทัศน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดไว้ชื่อ โครงการมีความชัดเจน มุ่งเน้นไปเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ อ่านแล้วเข้าใจได้ว่าจะพัฒนาอะไร หรือสิ่งที่จะทำนั้นจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต

25

(5)

 

5. โครงการพัฒนาตาม แผนพัฒนาท้องถิ่น (ต่อ) การกำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับโครงการ

การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการต้องมีความชัดเจน (clear objective) ตอบสนองต่อโครงการพัฒนาท้องถิ่น โครงการต้องกำหนดวัตถุประสงค์ สอดคล้องกับความเป็นมาของโครงการ สอดคล้องกับ หลักการและเหตุผล วิธีการดำเนินงานต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเป็นไปได้ ชัดเจน มีลักษณะเฉพาะเจาะจง จะดำเนินการเพื่อ สนับสนุน/ส่งเสริม ฯลฯ

(5)

 

5.3  เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) มีความชัดเจนไปสู่การตั้งงบประมาณได้ถูกต้อง

สภาพที่อยากให้เกิดขึ้นในอนาคตเป็นทิศทางที่ต้องไปให้ ถึงเป้าหมายต้องชัดเจน สามารถระบุจำนวนเท่าใด กลุ่มเป้าหมายคืออะไร มีผลผลิตอย่างไร กลุ่มเป้าหมาย พื้นที่ดำเนินงาน และระยะเวลาดำเนินงานลง รายละเอียดให้ชัดเจนว่าโครงการนี้จะทำที่ไหน เริ่มต้น ในช่วงเวลาใดและจบลงเมื่อใด ใครคือกลุ่มเป้าหมายของ โครงการ หากกลุ่มเป้าหมายมีหลายกลุ่มก็ให้ระบุว่า กลุ่มเป้าหมายหลัก กลุ่มเป้าหมายรองหรือกลุ่มเป้าหมาย เดียวกัน เป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ) จะนำไปสู่การ ประมาณการราคาในช่องของ “งบประมาณ”

(5)

 

5.4  มีการประมาณการราคาถูกต้องตามหลักวิธีการงบประมาณ

1) มีการประมาณราคาในโครงการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อจัดทำ บริการสาธารณะหรือกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน  มีการประมาณการราคาถูกต้องตามหลักวิธีการงบประมาณการ ประมาณราคาสอดคล้องกับโครงการ การจัดทำ บริการสาธารณะหรือกิจกรรมสาธารณะหรือถูกต้องตามหลักวิชาการ ทางช่าง หลักของราคากลางตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มีความโปร่งใสใน การกำหนดราคากลางและตรวจสอบได้ในเชิงประจักษ์ การประมาณการราคาที่เกิดจากเป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ)

(5)

 

-85-

 

ประเด็นการพิจารณา

รายละเอียดหลักเกณฑ์

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

5.4 มีการประมาณการราคาถูกต้องตามหลักวิธีการงบประมาณ

1) มีการประมาณราคาในโครงการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อจัดทำ บริการสาธารณะหรือกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน  มีการประมาณการราคาถูกต้องตามหลักวิธีการงบประมาณการ ประมาณราคาสอดคล้องกับโครงการ การจัดทำ บริการสาธารณะหรือกิจกรรมสาธารณะหรือถูกต้องตามหลักวิชาการ ทางช่าง หลักของราคากลางตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มีความโปร่งใสใน การกำหนดราคากลางและตรวจสอบได้ในเชิงประจักษ์ การประมาณการราคาที่เกิดจากเป้าหมาย (ผลผลิตของโครงการ)

(5)

 

2) งบประมาณโครงการพัฒนาจะต้องคำนึงถึงหลักสำคัญ 5 ประการในการจัดทำโครงการได้แก่ (1) ความประหยัด (Economy) (2) ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) (3) ความมีประสิทธิผล (Effectiveness)   (4) ลดความความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาท้องถิ่นนำไปสู่ความยุติธรรม (Equity) และ(5) ความโปร่งใส (Transparency) ชัดเจน ตรวจสอบได้ วัดได้ พิสูจน์ได้ว่าเป็นจริงในเวลานั้น

(5)

 

5.5 มีการกำหนดตัวชี้วัด (KPI) และสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์และผลที่คาดว่าจะได้รับ

มีการกำหนดตัวชี้วัดผลงาน (Key Performance Indicator: KPI) ที่ สามารถวัดได้ (measurable) ใช้บอกประสิทธิผล (effectiveness) ใช้บอกประสิทธิภาพ (efficiency)ได้ เช่น การกำหนดความพึงพอใจ การกำหนดร้อยละ การกำหนดอันเกิดจากผลของวัตถุประสงค์ที่เกิดสิ่งที่ได้รับ (การคาดการณ์ คาดว่าจะได้รับ) ตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นว่าจะดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จ อย่างไรหรือผลที่คาดว่าจะได้รับอย่างไร ไม่ใช่การกำหนด KPI เป็นครั้งหนึ่ง/แห่งหนึ่ง/หนึ่งโครงการ/ ความกว้าง/ความยาว ฯลฯ

(5)

 

5.6 ผลที่คาดว่าจะได้ รับสอดคล้องกับโครงการ และวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

 ผลที่ได้รับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริงจากการดำเนินงานตามโครงการพัฒนา ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การได้ผล หรือผลที่เกิดขึ้นจะต้องเท่ากับวัตถุประสงค์หรือมากกว่า วัตถุประสงค์ซึ่งการเขียนวัตถุประสงค์ควรคำนึงถึง   (1) มีความเป็นไปได้และมีความเฉพาะเจาะจง ในการดำเนินงานตามโครงการ    (2) วัดและประเมินผลระดับของความสำเร็จได้

 (3) ระบุสิ่งที่ต้องการดำเนินงานอย่างชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากที่สุด และสามารถปฏิบัติได้

 (4) เป็นเหตุเป็นผล สอดคล้องกับความเป็นจริง

 (5) ส่งผลต่อการบ่งบอกเวลาได้

(5)

 

-86-

ประเด็นการพิจารณา

รายละเอียดหลักเกณฑ์

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

6. โครงการพัฒนาที่นำไปจัดทำงบประมาณ รายจ่ายประจำปี

6.1 โครงการพัฒนา ท้องถิ่นที่นำไปจัดทำ งบประมาณรายจ่าย ประจำปีในภาพรวม

 

โครงการพัฒนาท้องถิ่นนำไปจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปีในภาพรวม ประกอบด้วยโครงการ กิจกรรม ครุภัณฑ์ วัสดุ งานต่าง ๆ ที่นำไปดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะหรือกิจกรรมสาธารณะ จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ตั้งไว้

35

(5)

 

6.2 โครงการพัฒนาท้องถิ่น ที่นำไปจัดทำงบประมาณรายจ่ายแก้ไขปัญหาความยากจน

โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่นำไปจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปี ประกอบด้วยโครงการ กิจกรรม ครุภัณฑ์ วัสดุ งานต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนหรือการส่งเสริม อาชีพประชาชนในท้องถิ่น จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามข้อบัญญัติ/เทศ บัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ตั้งไว้

(5)

 

6.3 โครงการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่นำไป จัดทำงบประมาณรายจ่ายด้านการบริหารจัดการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่นำไปจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปี ประกอบด้วยโครงการ กิจกรรม ครุภัณฑ์ วัสดุ งาน ต่าง ๆ เพื่อการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมหรือบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปีที่ตั้งไว้

(5)

 

6.4 โครงการเพื่อการ พัฒนาท้องถิ่นที่นำไป จัดทำงบประมาณรายจ่ายเกี่ยวกับสุขภาวะ

โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่นำไปจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปี ประกอบด้วยโครงการ กิจกรรม ครุภัณฑ์ วัสดุ งานต่าง ๆ ที่ดำเนินการเกี่ยวกับสุขภาวะหรือการดำเนินการด้านการสาธารณสุข จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามข้อบัญญัติ/เทศ บัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ตั้งไว้

(5)

 

6.5 โครงการเพื่อการ พัฒนาท้องถิ่นที่นำไป จัดทำงบประมาณรายจ่าย เกี่ยวกับด้านการศึกษา ศิลปะ ศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิ ปัญญาท้อถิ่น

โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่นำไปจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปี ประกอบด้วยโครงการกิจกรรม ครุภัณฑ์ วัสดุ งานต่าง ๆ ที่ดำเนินการด้านการศึกษา ศิลปะ ศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้อถิ่น จำนวนไม่ น้อยกว่าร้อยละ 2 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ตั้งไว้

(5)

 

 

 

 -87-

 

 

ประเด็นการพิจารณา

รายละเอียดหลักเกณฑ์

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

6.6 โครงการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่นำไป จัดทำงบประมาณรายจ่าย เกี่ยวกับด้านโครงสร้างพื้นฐาน

โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่นำไปจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปี ประกอบด้วยโครงการกิจกรรม ครุภัณฑ์ วัสดุ งานต่าง ๆ ที่ดำเนินการด้านโครงสร้างพื้นฐาน หรือการคมนาคม เช่น ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมถนน ฯลฯ จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ของงบประมาณรายจ่าย ประจำปีตามข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีที่ตั้งไว้

(5)

 

6.7 โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่นำไปจัดทำงบประมาณรายจ่าย เกี่ยวกับด้านการบริหารจัดการน้ำ

โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่นำไปจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปี ประกอบด้วยโครงการ กิจกรรม ครุภัณฑ์ วัสดุ งานต่าง ๆ ที่ดำเนินการด้านการบริหารจัดการน้ำ เช่น ก่อสร้าง ปรับปรุงแหล่งน้ำ ขุด ติดตั้ง หรือการบริหาร จัดการน้ำรวมถึงน้ำประปา ฯลฯ จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามข้อบัญญัติ/เทศ บัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ตั้งไว้

 

 

(5)

 

รวม

รวม 20 หลักเกณฑ์/ตัวชี้วัด

100

 

 

 

 

 

 

 

 

 -88-

 

 

 

           3. ข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในอนาคต

                    3.๑ ผลกระทบนำไปสู่อนาคต

                           ๑) เกิดการพัฒนาพัฒนาที่ล่าช้า เพราะการดำเนินงานต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน สลับสับซ้อน

                            ๒) ประชาชนอาจเกิดความเบื่อหน่ายกับกระบวนการจัดทำแผนและขั้นตอนการดำเนินการจัดทำโครงการที่มีความยุ่งยากมากขึ้น

                            ๓) ปัญหาอาจไม่ได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุดเพราะข้อจำกัดของระเบียบกฎหมายที่ทำได้ยากและบางเรื่องอาจทำไม่ได้ 

                            ๔) ปัญหาอาจจะแก้ไขได้ไม่ครอบคลุมเพราะมีข้อจำกัดในด้านงบประมาณที่ไม่เพียงพอ จะต้องประสานขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น

                    3.๒ ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ ผลจากการพัฒนา

                            1)  การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นควรพิจารณางบประมาณและคำนึงถึงสถานะการคลังในการพิจารณาโครงการ/กิจกรรม ที่จะบรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่น

                            2)  ส่วนกลางควรสนับสนุนเงินงบประมาณให้มากขึ้น

                            3)  องค์การบริหารส่วนตำบลควรพิจารณาตั้งงบประมาณให้เพียงพอและเหมาะสมกับกับภารกิจแต่ละด้านที่จะต้องดำเนินการ ซึ่งจะช่วยลดปัญหา

                                 ในการโอนเพิ่ม   โอนลด  โอนตั้งจ่ายรายการใหม่

             

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาคผนวก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

                                                                                                                                               

                                                                                                                           หน้า

 

 

ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน                                                                              1 - 8                                                                  

1.1 ด้านกายภาพ                                                                                                             1 - 2

1.2 ด้านการเมืองการปกครอง                                                                                                 3

1.3 ประชากร                                                                                                                    4

1.4 สภาพทางสังคม                                                                                                             4

1.5 ระบบบริการพื้นฐาน                                                                                                     4 - 5

1.6 ระบบเศรษฐกิจ                                                                                                           5 - 6

1.7 ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม                                                                                               7

1.8 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่                                                                                                8

 

ส่วนที่ 2    ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                                     9 - 25

2.1 ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาค                                                                      9  - 18

2.2 ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                                                         19 - 22

2.3 การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น                                                                                       23  -25

 

ส่วนที่  3  การนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติ                                                                26 - 61

3.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนงาน                                                                                   26 - 27

3.2 บัญชีสรุปโครงการพัฒนาท้องถิ่น                                                                                      28 - 31

3.3 รายละเอียดโครงการพัฒนา ฯ                                                                                         32 - 59

3.4 รายละเอียดโครงการพัฒนา ฯ (สำหรับโครงการเกินศักยภาพฯ)                                                  60 - 61                                                                                           

 

ส่วนที่ 4 การติดตามและประเมินผลแผน                                                                             62 - 70

4.1  การติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์                                                                               62 - 65

4.2 การติดตามและประเมินผลโครงการ                                                                                   66 - 69

4.3 สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่น                                                                                                    70

4.4 ข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในอนาคต                                                                  70

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เอาไว้ใช้ตอนติดตาม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.  ผลการพิจารณาการติดตามและประเมินผลโครงการเพื่อความสอดคล้องแผนพัฒนาท้องถิ่น

      2.1 สรุปคะแนนประเมินผลโครงการ  

ประเด็นการพิจารณา

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

1.การสรุปสถานการณ์การพัฒนา

10

 

2.การประเมินผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติในเชิงปริมาณ

10

 

3.การประเมินผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติในเชิงคุณภาพ

10

 

4.ยุทธศาสตร์  กลยุทธ์ และแผนงานการพัฒนา

5

 

5.โครงการพัฒนาตามแผนพัฒนาท้องถิ่น  ประกอบด้วย                                                                 

30

 

5.1 ความชัดเจนของชื่อโครงการ

5

 

5.2 กำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับโครงการ

5

 

5.3 เป้าหมาย   (ผลผลิตโครงการ) มีความชัดเจนนำไปสู่การตั้งงบประมาณได้ถูกต้อง

5

 

5.4 มีการประมาณราคาถูกต้อง ตามหลักวิธีการงบประมาณ

5

 

5.5 มีการกำหนดตัวชี้วัด  (KPI) และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และผลที่คาดว่าจะได้รับ

5

 

5.6 ผลที่คาดว่าจะได้รับสอดคล้องกับโครงการและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้    

5

 

6. โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่นำไปจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี

35

 

6.1 โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่นำไปจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีในภาพรวม

5

 

6.2 โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่นำไปจัดทำงบประมาณรายจ่ายแก้ไขปัญหาความยากจน

5

 

6.3 โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่นำไปจัดทำงบประมาณรายจ่ายด้านการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5

 

6.4 โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่นำไปจัดทำงบประมาณรายจ่ายเกี่ยวกับสุขภาวะ

5

 

6.5 โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่นำไปจัดทำงบประมาณรายจ่ายเกี่ยวกับด้านการศึกษา ศิลปะ ศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

5

 

6.6 โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่นำไปจัดทำงบประมาณรายจ่ายเกี่ยวกับด้านโครงสร้างพื้นฐาน

5

 

6.7 โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่นำไปจัดทำงบประมาณรายจ่ายเกี่ยวกับด้านการบริหารจัดการน้ำ

5

 

ผลรวมระดับความพึงพอใจ

100

 

 

 

-79-

 

ประเด็นการพิจารณา

รายละเอียดหลักเกณฑ์

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

ความเห็นของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนฯ

1. การสรุปสถานการณ์

การพัฒนา

1) การวิเคราะห์หรือผลการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาที่ประชาชนต้องการให้ดำเนินการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตอบสนอง   ความต้องการได้โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเทคนิค Demand (Demand Analysis)/Global Demand) หรืออื่น ๆ  เป็นการวิเคราะห์โครงการเพื่อสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

10

 

   การดำเนินโครงการยังไม่ตอบสนองต่อความต้องการกับประชาชนครบทุกโครงการเนื่องจากงบประมาณมีจำกัด

(5)

 

 2) การวิเคราะห์หรือผลการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบันและอนาคต ทิศทาง แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นหรือผลที่จะเกิดขึ้นในการพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเทคนิค Trend หรือนำเทคนิค Demand (Demand Analysis)/Global Demand หรืออื่น ๆ มาเชื่อมต่อเป็นการวิเคราะห์ โครงการเพื่อสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(5)

 

2.2  การสรุปสถานการณ์การพัฒนา

 

 

 

 

 

 

 

-80-

 

2.3  การประเมินผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติเชิงปริมาณ

 

ประเด็นการพิจารณา

รายละเอียดหลักเกณฑ์

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

ความเห็นของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนฯ

2. การประเมินผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่น ไปปฏิบัติในเชิงปริมาณ

1) การกำหนดและการวิเคราะห์การควบคุมที่มีการใช้ ตัวเลขต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้วัดผลในเชิงปริมาณ เช่น การวัดจำนวนโครงการ กิจกรรม ครุภัณฑ์ วัสดุงานต่าง ๆ ก็คือผลผลิตเป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ หรือไม่ จำนวนที่ดำเนินการจริงตามที่ได้กำหนดไว้ จำนวนที่ไม่สามารถดำเนินการได้สามารถอธิบายได้  ของการพัฒนาท้องถิ่นตามหน้าที่และอำนาจที่ได้กำหนดไว้

10

 

   ไม่สามารถดำเนินการได้ครบทุกโครงการตามที่ตั้งเป้าหมายไว้เนื่องจากยังอยู่ในช่วงสถานการณ์ไวรัสโควิดระบาด   และมีการวิเคราะห์ความสำเร็จของโครงการในรูปตารางวิเคราะห์มีการวัดผลเชิงปริมาณ จํานวนโครงการ/กิจกรรม ที่ดําเนินงานตามแผนงาน ตลอดจนจํานวนที่ไมสามารถ ดําเนินการได้

(5)

 

 2) การกำหนดและการวิเคราะห์ผลกระทบ/สิ่งที่กระทบ (Impact) โครงการพัฒนาท้องถิ่นที่ดำเนินการในเชิงปริมาณ (Quantitative) ที่เกิดจาก  (1) ได้มีการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณด้วยรูปแบบของข้อมูลต่าง ๆ

(5)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-81-

 

2.4  การประเมินผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติในเชิงคุณภาพ

ประเด็นการพิจารณา

รายละเอียดหลักเกณฑ์

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

ความเห็นของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนฯ

3. การประเมินผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติในเชิงคุณภาพ

1) การกำหนดและการวิเคราะห์การประเมินประสิทธิผลของแผนพัฒนาในเชิงคุณภาพคือการนำเอาเทคนิคต่าง ๆ มาใช้เพื่อวัดว่าภารกิจ โครงการ กิจกรรม ครุภัณฑ์ วัสดุ งานต่าง ๆ ที่ดำเนินการในพื้นที่ ตรงต่อความต้องการของประชาชน และเป็นไปตามหน้าที่และอำนาจ ประชาชนพึงพอใจ มีความสุขจากการพัฒนาท้องถิ่น โครงการพัฒนา ครุภัณฑ์วัสดุการดำเนินการต่าง ๆ มีสภาพหรือลักษณะถูกต้อง คงทน ถาวร สามารถใช้การได้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ซึ่งเป็นไปตามหลักประสิทธิผล (Effectiveness) ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมา ดำเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นได้และเป็นไปหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

10

 

มีการการวิเคราะห์การประเมินประสิทธิผลของแผนพัฒนาในเชิงคุณภาพคือการนำเอาเทคนิคต่าง ๆ มาใช้เพื่อวัดว่าภารกิจ โครงการ กิจกรรม ครุภัณฑ์ วัสดุ งานต่าง ๆ ที่ดำเนินการในพื้นที่ ตรงต่อความต้องการของประชาชน ประชาชนพึงพอใจ มีความสุขจากการพัฒนาท้องถิ่น โครงการพัฒนา ครุภัณฑ์วัสดุการดำเนินการต่าง ๆ มีสภาพหรือลักษณะถูกต้อง คงทน ถาวร สามารถใช้การได้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่  มีการวัดผลความพึงพอใจของประชาชนจากการจัดจ้างมหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีเป็นผู้ประเมิน

(5)

 

 

2) การกำหนดและการวิเคราะห์วิเคราะห์ผลกระทบ/สิ่งที่กระทบ (Impact) โครงการที่ดำเนินการในเชิงคุณภาพ (Qualitative) ที่เกิดจากได้มีการวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพ การวัดความพึงพอใจหรือวัดความสุขที่ประชาชนได้รับด้วยรูปแบบของข้อมูลต่าง ๆ  เช่น กราฟ สถิติ เป็นต้น

(5)

 

 

           

 

 

 

 

 

-82-

 

2.5  ยุทธศาสตร์ กลยุทธ และแผนงานการพัฒนา

ประเด็นการพิจารณา

รายละเอียดหลักเกณฑ์

คะแนนเต็ม

คะแนนที่ได้

ความเห็นของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนฯ

4. ยุทธศาสตร์กลยุทธ์ แผนงานการพัฒนา

1) การกำหนดและการวิเคราะห์กลยุทธ์ที่สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ แผนงาน และงานที่จะพัฒนาท้องถิ่นซึ่งผ่านการวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นด้วยเทคนิคการ วิเคราะห์ Demand (Demand Analysis) / Global Demand/Trend หลักการบูรณาการ (Integration) หรืออื่น ๆ โดยนำไปจัดทำเป็นรูปโครงการพัฒนาท้องถิ่นที่เป็นรูปธรรม

10

 

 

       มีการกำหนดและการวิเคราะห์กลยุทธ์ที่สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ แผนงาน และงานที่จะพัฒนาท้องถิ่นนำไปสู่การจัดทำโครงการ กิจกรรม ครุภัณฑ์ วัสดุในการจัดทำบริการสาธารณะหรือกิจกรรมสาธารณะที่เป็นรูปธรรม

(5)

 

 2) การกำหนดและการวิเคราะห์กลยุทธ์สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น นำไปสู่การจัดทำโครงการ กิจกรรม ครุภัณฑ์ วัสดุในการจัดทำบริการสาธารณะหรือกิจกรรมสาธารณะที่เป็นรูปธรรม

(5)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-83-

 

3.  การวิเคราะห์เชิงปริมาณ

  3.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม / สัมภาษณ์

ข้อมูลทั่วไป

จำนวน

ร้อยละ

เพศ

 

 

ชาย

32

53.33

หญิง

28

46.67

อาชีพ

 

 

รับราชการ

4

6.67

เจ้าของธุรกิจ/ค้าขาย

6

10.00

เกษตรกรรม

47

78.33

รับจ้าง

3

5.00

อื่นๆ

-

-

 

ข้อมูลทั่วไป

จำนวน

ร้อยละ

อายุ

 

 

ต่ำกว่า 20 ปี

2

3.33

20 - 40ปี

16

26.67

41 - 60 ปี

34

56.67

ตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป

8

13.33

      

 

 

 

 

 

 

 

   

3.2 ความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน

แบบสอบถามความพึงพอใจของประชาชนในการดำเนินการก่อสร้าง ด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

**********************************************************************************************************

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

คำชี้แจง    กรุณาทำเครื่องหมาย  √ ลงใน       และเติมข้อมูลลงในช่องว่างให้ตรงกับความเป็นจริง

1. เพศ          ชาย                หญิง

2. อายุ.....................ปี

3. อาชีพ                 ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ                                             พนักงานรัฐวิสาหกิจ                           พนักงานบริษัทเอกชน                   

                            ประกอบธุรกิจส่วนตัว                                                    เกษตรกรรม                                     รับจ้างทั่วไป           

                            อื่น ๆ (ระบุ)..................................................

 

-84-

 

ตอนที่ ๒ ความพึงพอใจในการก่อสร้าง ที่ อบต.ตำหรุ  ดำเนินการ

คำชี้แจง           โปรดใส่เครื่องหมาย √    ลงใน        ที่ตรงกับระดับความพึงพอใจของท่าน

 5 หมายถึง มีความพึงพอใจมากที่สุด                       4  หมายถึง   มีความพึงพอใจมาก

 3 หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง                      2  หมายถึง   มีความพึงพอใจน้อย

 1 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อยที่สุด

 

ลำดับ

ประเด็นคำถาม

ระดับความคิดเห็น (คะแนน)

มากที่สุด

มาก

ปานกลาง

น้อย

น้อยที่สุด

1

ความรวดเร็วของการก่อสร้าง

 

 

 

 

 

2

การก่อสร้างแล้วเสร็จตามกำหนดระยะเวลา

 

 

 

 

 

3

ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอโครงการ

 

 

 

 

 

4

ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบโครงการ

 

 

 

 

 

5

ประโยชน์ที่ได้รับจากการก่อสร้าง

 

 

 

 

 

6

ความสะดวกปลอดภัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 




 

องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ
ตำบลตำหรุ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี 76150
โทรศัพท์ 0-3249-2386 โทรสาร 0-3249-2386
E-mail : saraban@tamru.go.th

สำนักปลัด : 0-3249-2386 ต่อ
กองคลัง :
0-3249-2386 ต่อ
กองช่าง : 0-3249-2386 ต่อ
กองการศึกษา : 0-3249-2386 ต่อ







 


นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
 

ลิขสิทธิ์ © 2555-2566 องค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ จังหวัดเพชรบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.